ทนายความจังหวัดศรีสะเกษ มือถือ: 094 524 1915

ทนายความจังหวัดศรีสะเกษ มือถือ: 094 524 1915

เปิดหน้าต่อไป

กฎหมายใหม่และคำพิพากษาฎีกาที่สำคัญ

หัวข้อกฎหมายใหม่

  • กระท้อม

กฎหมายใหม่

กระท้อม
ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้ผู้ขายใบกระท่อม ต้องติดป้ายห้ามจำหน่ายให้เด็กอายุต่ำกว่าสิบแปดปี สตรีมีครรภ์ – สตรีให้นมบุตร มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2566 เป็นต้นไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2566 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การปิดประกาศหรือกรแจ้งให้บุคคลที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายหราบถึงข้อห้ามขายใบกระท่อม หรืออาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหารที่มีใบกระท่อมเป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบ พ.ศ. 2556 ลงนามโดยนายชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

หัวข้อคำพิพากษาฎีกาที่สำคัญ

  1. คดีประกันชีวิต
  2. ดคีเช่าซื้อ
  3. คดีจราจร
  4. คดีหมิ่นประมาท
  5. คดีมรดก
  6. คดีฉ้อโกงประชาชน
  7. คดียาเสพติด
  8. คดีกู้ยืมเงิน
  9. คดีอาญา (ข้าราชการ) ทุจริต
  10. คดีฟ้องแพทย์และโรงพยาบาล
  11. คดีนิติบุคคลอาคารชุด
  12. คดีภาษีอากร
  13. คดีทรัพย์สินทางปัญญา
  14. คดีแรงงาน
  15. คดีครอบครัว
  16. คดีที่ดิน

1. คดีประกันชีวิต

มีคดีที่ศาลใหน ปรึกษาทนายใกล้ศาลนั้น 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้ศาลได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้ศาล.com


ทนายเล่าเรื่อง ชีวิตไม่ได้มีไว้ทำประกัน ชีวิตมีไว้ให้ใช้กรรม สะสมเงินเก็บไว้ในธนาคารลงทุนในกองทุนซื้อพันธบัตรรัฐบาลไว้ชีวิตก็มีความมั่นคงไม่เป็นภาระของใคร ไม่แนะนำให้ซื้อประกันชีวิตครับ เพราะสุดท้ายบริษัทจะสู้คดีอย่างนี้ครับ


ปกปิดว่าเป็นโรคเลือดออกในทางเดินอาหารและโรคความดันโลหิตสูง ผู้รับประกันชีวิตไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน


สัญญาประกันชีวิตเป็นสัญญาที่ต้องการความสุจริตหรือความไว้วางใจระหว่างคู่สัญญาเป็นสำคัญอย่างยิ่ง ข้อความจริงต่างๆ ที่ควรนำมาพิจารณาว่าจะตกลงทำสัญญาประกันชีวิตหรือไม่ โดยปกติแล้วผู้เอาประกันชีวิตเป็นผู้มีโอกาสรู้แต่เพียงฝ่ายเดียว ผู้รับประกันภัยจะไม่มีโอกาสรับรู้ได้เลยหากผู้เอาประกันชีวิตไม่แจ้งให้ทราบ ฉะนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันชีวิตที่ต้องเปิดเผยข้อความจริงให้ผู้รับประกันชีวิตรับรู้ ซึ่งเมื่อผู้รับประกันชีวิตรับรู้แล้วอาจเป็นเหตุจูงใจผู้รับประกันชีวิตให้เรียกเบี้ยประกันภัยชีวิตสูงขึ้นหรือให้บอกปัดไม่ทำสัญญาก็ได้ ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคหนึ่ง


ขณะที่ ว.ยื่นคำขอทำประกันชีวิตกับจำเลย ว.ทราบอยู่แล้วว่า โรคเลือดออกในทางเดินอาหาร โรคความดันโลหิตสูง แต่ละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงเพราะอาจทำให้จำเลยบอกปัดไม่รับทำสัญญาประกันชีวิตให้แก่ตน สัญญาประกันชีวิต


****************************************

2. คดีเช่าซื้อ

ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com 


ทนาบเล่าเรื่อง คืนรถไปแล้วฟ้องเรียกค่าเสียหายภายใน 6 เดือน


แม้ ป.พ.พ. มาตรา 563 มิได้บัญญัติไว้โดยตรงว่า การใช้สิทธิเรียกร้องซึ่งมีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า จะต้องเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างสัญญาเช่าซื้อมีผลใช้อยู่ แต่การที่ ป.พ.พ. มาตรา 563 บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า แสดงว่าสิทธิเรียกร้องดังกล่าวต้องเกิดขึ้นแล้วในวันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า โดยอาจเกิดขึ้นในระหว่างสัญญาเช่าซื้อยังมีผลใช้อยู่ หรือระหว่างที่ผู้เช่าซื้อยังครอบครองทรัพย์สินอยู่ แต่ค่าเสียหายที่โจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ในราคาน้อยกว่าค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ เป็นค่าเสียหายที่โจทก์จะทราบได้ต่อเมื่อโจทก์ได้รับรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนและขายไปแล้ว จึงเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นหลังจากวันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อ กรณีไม่ต้องด้วยอายุความ 6 เดือน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 563 แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นการเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

***********************************

ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com


ทนายเล่าเรื่อง มายึดรถโดยไม่บอกเลิกสัญญา ผลที่ตามมาดูคำพิพากษาฎีกานี้ครับ


   จำเลยทำสัญญาซื้อรถยนต์จากโจทก์โดยมีเงื่อนไข เมื่อจำเลยผิดนัดชำระเงินโจทก์ได้ใช้สิทธิตามสัญญาเข้ายึดรถคืนมาโดยมิได้มีกบอกเลิกสัญญาก่อน หลังจากนั้นโจทก์ขายรถดังกล่าวไป ซึ่งจำเลยมิได้โต้แย้ง ถือว่าคู่สัญญาได้ตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยายแล้ว ทำให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคแรกโจทก์มีหน้าที่ต้องคืนราคารถยนต์ที่รับไปแล้วแก่จำเลย และจำเลยต้องชดใช้เงินค่าใช้ทรัพย์นั้นแก่โจทก์ด้วยโดยถือเป็นค่าขาดประโยชน์ในการใช้รถตามฟ้อง แต่ถือได้ว่าราคารถยนต์ที่โจทก์ได้รับไปแล้วเป็นค่าใช้ทรัพย์ส่วนหนึ่งแล้ว
*******************************************

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้คุณได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้คุณ.com


ทนายเล่าเรื่อง คดีขายอายุความแล้ว ฟ้องอะไรอีกได้บ้าง


จำเลยทั้งสองให้การเพียงว่าสิทธิเรียกร้องโจทก์ขาดอายุความแล้ว เนื่องจากจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อกับบริษัท ศ. ผู้ให้เช่าซื้อเดิมเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2538 แต่โจทก์ฟ้องคดีเกินกำหนดระยะเวลา 10 ปีแล้ว จึงขาดอายุความ คดีมีประเด็นข้อพิพาทตามคำฟ้องและคำให้การเพียงว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความนับจากวันทำสัญญาหรือไม่เท่านั้น อีกทั้งไม่มีประเด็นอายุความอันเกี่ยวด้วยการเลิกสัญญาเนื่องจากจำเลยทั้งสองมิได้ให้การในประเด็นดังกล่าวไว้ การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าเมื่อนับจากวันที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้จนถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดี คดีโจทก์ขาดอายุความนั้น จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

 คำฟ้องของโจทก์ที่เรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการขายรถยนต์แล้วยังขาดราคาค่าเช่าซื้ออยู่และค่าขาดประโยชน์นั้น เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อ การฟ้องเรียกค่าเสียหายเช่นนี้เป็นผลมาจากการเลิกสัญญาไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความสิบปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ซึ่งเมื่อสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงผู้ให้เช่าซื้อย่อมอาจบังคับให้ผู้เช่าซื้อชดใช้ค่าขาดประโยชน์และราคารถยนต์ส่วนที่ขาดได้นับแต่วันดังกล่าวตามมาตรา 193/12 ซึ่งเป็นวันที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้ มิใช่สิทธิเรียกร้องของผู้ให้เช่าซื้อมีอายุความสิบปีนับแต่วันทำสัญญา ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

 ข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานของโจทก์ไม่ปรากฏหลักฐานเป็นหนังสือบอกกล่าวของผู้ให้เช่าซื้อให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาภายใน 30 วัน และมีการบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยที่ 1 ตามที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 6 สัญญาเช่าซื้อจึงยังไม่เลิกกันเพราะเหตุที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อสองงวดติดต่อกันดังฟ้องของโจทก์ การที่ผู้ให้เช่าซื้อมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนการบอกกล่าวทวงถามและการบอกเลิกสัญญา จำเลยที่ 1 จึงไม่จำต้องรับผิดชดใช้ค่าขาดราคาซึ่งเป็นค่าเสียหายที่โจทก์อาจเรียกร้องได้ในกรณีที่มีการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ แต่เมื่อต่อมาบริษัท ศ. ติดตามรถยนต์กลับคืนมาเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2539 โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ได้โต้แย้งคัดค้าน ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า คู่สัญญาสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยาย คู่กรณีแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง และการที่จำเลยที่ 1 ได้ใช้รถยนต์ที่เช่าซื้อก่อนเลิกสัญญาโดยไม่ได้ชำระค่าเช่าซื้อนั้น จำเลยที่ 1 จำต้องใช้เงินเป็นค่าใช้ทรัพย์ให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อตามมาตรา 391 วรรคสาม พร้อมดอกเบี้ย และเมื่อผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิเรียกได้แต่ค่าใช้ทรัพย์ที่เช่าซื้อโดยไม่ชำระค่าเช่าซื้อเท่านั้นจึงไม่ก่อให้เกิดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด
***************************************

3. คดีจราจร

ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com 


ทนายเล่าเรื่อง คดีจราจร


การที่จำเลยจอดรถในทางเดินรถโดยไม่แสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 56 วรรคสอง,152 เป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายแก่กาย ซึ่งเป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกันและเป็นผลโดยตรงที่ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายแก่กายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291,390 จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด

 ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 43(4) และ 157ต้องเป็นผู้ขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน และตามมาตรา 78 และ 160 ต้องเป็นผู้ขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นและไม่หยุดให้ความช่วยเหลือพร้อมแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งการจะเป็นความผิดดังกล่าวได้ต้องเป็นผู้ขับรถที่กำลังแล่นอยู่หาใช่กรณีผู้ขับรถที่จอดหรือหยุดรถไม่ เมื่อจำเลยจอดรถในทางเดินรถ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานขับรถโดยประมาทและก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 43(4),78,157 และ 160 วรรคหนึ่งปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องในความผิดดังกล่าวทั้งสองข้อหาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง,215,225
*****************************************

4. คดีหมิ่นประมาท

ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com

ทนายเล่าเรื่อง หมิ่นหรือไม่หมิ่นดูคำพิพากษาฎีกาเป็นหลักครับ

จำเลยด่าว่าผู้เสียหายว่า "อีเหี้ย อีสัตว์ อีควาย มึงคิดว่าเมียกูกินเงินไปหรือไง" และชี้มือไปที่ผู้เสียหาย ถ้อยคำดังกล่าวนอกจากจะเป็นคำหยาบคายแล้ว ยังมีลักษณะเป็นการเปรียบเทียบผู้เสียหายเป็นสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สี่เท้า และกล่าวหาผู้เสียหายว่า ผู้เสียหายว่าภริยาจำเลยของจำเลยเอาเงินของกลุ่มแม่บ้านไปใช้เป็นการส่วนตัว ถ้อยคำดังกล่าวมีลักษณะเป็นการดูหมิ่นผู้เสียหาย  
*********************************
ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com


ทนายเล่าเรื่อง ควสมผิดฐานหมิ่นประมาทเกอดขึ้นได้ทุกวัน นับแต่เรามีการสื่อสารไร้พรมแดนครับ


แม้จำเลยทั้งสองจะเป็นสื่อมวลชน มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณาหรือสื่อความหมายโดยวิธีอื่น ๆ แต่ก็หาอาจกระทำการใด ๆ ที่เป็นการก้าวล่วงหรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิในความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่น การที่จำเลยทั้งสองนำข่าวการมีเพศสัมพันธ์ของชายหญิงคู่หนึ่งซึ่งหนังสือพิมพ์ฉบับอื่น ๆ เคยนำเสนอภาพและข่าวไปก่อนหน้านั้น แต่ยังไม่ได้ระบุว่าชายหญิงในภาพเป็นใครมาเผยแพร่ซ้ำโดยระบุในเนื้อข่าวว่า ชายในภาพที่กำลังมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักคือโจทก์ ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำที่เป็นการก้าวล่วงหรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิในความเป็นส่วนตัวของโจทก์ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายต้องแจ้งชื่อ ลักษณะแห่งความผิดและพฤติการณ์ต่าง ๆ ต่อพนักงานสอบสวนเป็นหน้าที่ที่ผู้เสียหายต้องกระทำในการร้องทุกข์กล่าวโทษ จะถือว่าโจทก์ยินยอมเปิดเผยชื่อและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อสาธารณชนหาได้ไม่ แม้โจทก์จะเป็นนักการเมือง เป็นบุคคลสาธารณะ แต่ก็ย่อมมีสิทธิของความเป็นส่วนตัว มิใช่ว่าเมื่อเป็นนักการเมืองหรือบุคคลสาธารณะแล้วจะทำให้สิทธิในความเป็นส่วนตัวต้องสูญสิ้นไปทั้งหมด การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 แต่มิใช่เป็นการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงตาม มาตรา 423 โจทก์จึงไม่อาจเรียกให้จำเลยทั้งสองรับผิดในความเสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณและความเสียหายแก่ทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของตนโดยประการอื่นตามมาตรา 423 ได้ โดยจำเลยทั้งสองต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น และแม้จะมีบุคคลอื่นกระทำละเมิดด้วยก็เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับผู้กระทำละเมิดรายนั้น ๆ มิใช่เหตุตามกฎหมายที่จำเลยทั้งสองจะยกขึ้นอ้างเพื่อให้ศาลปรับลดค่าเสียหายที่ตนต้องรับผิดลง แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 34 จะบัญญัติคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว และมาตรา 28 บัญญัติให้ผู้ถูกกระทำละเมิดสามารถยกขึ้นเพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีบทบัญญัติในทำนองเดียวกันนี้ก็ตาม แต่การที่จะพิจารณาว่าจำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบระหว่างบุคคลไว้เป็นการเฉพาะ
****************************************
ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com 


ทนายเล่าเรื่อง ดูหมิ่นซึ่งหน้าต้องต่อหน้าต่อตากันจริงๆครับ


โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 393 ฐานดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายกับจำเลยอยู่ห่างไกลกันคนละอำเภอ แต่องค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 393 นั้น ถ้าเป็นการกล่าวด้วยวาจา ผู้กระทำต้องกล่าวซึ่งหน้าผู้เสียหาย เพราะบทบัญญัติมาตรานี้มีเจตนารมณ์ป้องกันเหตุร้ายที่อาจเข้าถึงตัวกันทันทีที่มีการกล่าว ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบจึงยังไม่เข้าองค์ประกอบความผิดฐานดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า
****************************************

5. คดีมรดก

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้คุณได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้คุณ.com


ทยานเล่าเรื่อง เรื่องนี้เกี่ยวกับผู้ที่ทำนิติกรรมอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ สามารถทำนิตกรรมได้ถ้าผู้ปกครองมีส่วนร่วม



ผู้เยาว์อายุ 18 ปีมีภริยา แต่มิได้จดทะเบียนสมรสย่อมยังไม่บรรลุนิติภาวะ

ผู้เยาว์ลงนามทำสัญญาโดยมีผู้แทนโดยชอบธรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือเป็นพยานในเอกสารสัญญานั้นถือได้ว่าผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมแล้ว

ทายาททุกคนทำสัญญาแบ่งปันมรดกซึ่งไม่มีพินัยกรรม เป็นการระงับข้อพิพาทแห่งกองมรดกที่จะมีขึ้น จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546(4)ผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวแก่ทรัพย์สินของผู้เยาว์มิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ดังนั้น เมื่อยังมิได้รับอนุญาตจากศาล ผู้ใช้อำนาจปกครองในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมจึงไม่อาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันมรดก

สัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันมรดกซึ่งผู้เยาว์ทำและผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมโดยมิได้รับอนุญาตจากศาลย่อมตกเป็นโมฆะ แม้สัญญาประนีประนอมยอมความนั้นทำขึ้นระหว่างผู้เยาว์กับทายาทอื่นอีกหลายคน แต่จำนวนทายาทหรือจำนวนทรัพย์มรดกที่จะได้รับส่วนแบ่งเป็นสิ่งที่เกี่ยวพัน ไม่อาจแบ่งแยกออกจากกันได้ ย่อมตกเป็นโมฆะด้วยกันทั้งสิ้น

การแบ่งปันทรัพย์มรดกนั้น อาจทำได้โดยทายาทต่างครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัด เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย ทายาทผู้ใดครอบครองมรดกส่วนไหนก็ย่อมมีสิทธิเฉพาะส่วนนั้น ส่วนอื่นที่ตนมิได้เกี่ยวข้อง ย่อมขาดอายุความมรดก
******************************************
ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com


ทนายเล่าเรื่อง กฎหมายเขียนไว้ว่า ถ้าเป็นผู้รับผลประโยชน์ในพินันกรรม ไม่ให้ลงชื่อเป็นพยานในพินัยกรรม แต่ลงชื่อรับรองลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมไม่เกี่ยวกันครับ สาทารถทำได้ 


   จำเลยลงชื่อเป็นพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วหัวแม่มือของผู้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ลงชื่อเป็นพยานรับรองพินัยกรรม ไม่มีผลให้ข้อกำหนดพินัยกรรมยกที่ดินแก่จำเลยเป็นโมฆะ จำเลยมีสิทธิรับมรดกตามพินัยกรรม
****************************************

6. คดีฉ้อโกงประชาชน

ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com


ทนายเล่าเรื่อง ฉ้อโกงธรรมดาหรือฉ้อโกงประชาชน ดูที่พฤติกรรมของผู้ที่ฉ้อโกงเราครับ


การที่จำเลยกับพวกชักชวนผู้เสียหายทั้งสิบคนและบุคคลอื่นให้นำเงินมาลงทุนกับบริษัท เพื่อประกอบกิจการสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้าเพื่อเก็งกำไรทั้ง ๆ ที่จำเลยรู้อยู่ว่าบริษัท อ. ไม่มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการดังกล่าวและการประกอบกิจการตามที่อ้างจะมีขึ้นไม่ได้แน่นอน การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นการหลอกลวงผู้เสียหายทั้งสิบคน และบุคคลทั่ว ๆ ไปไม่จำกัดว่าเป็นใครอันเป็นการหลอกลวงประชาชนด้วยการการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งโดยเจตนาทุจริต ทำให้ผู้เสียหายทั้งสิบคน หลงเชื่อมอบเงินให้แก่จำเลยกับพวกไปจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 วรรคแรกและการกระทำของจำเลยกับพวกดังกล่าวเป็นการกู้ยืมเงินตามพระราชกฤษฎีกา การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527มาตรา 3 และเป็นการชักชวนว่าในการกู้ยืมเงินจำเลยหรือบริษัทอ. จะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินที่พึงจ่ายได้ โดยจำเลยรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าจำเลยหรือบริษัท อ. จะนำเงินจากผู้เสียหายทั้งสิบคน หรือรายอื่นมาจ่ายหมุนเวียนให้แก่ผู้เสียหายทั้งสิบคน หรือโดยที่จำเลยรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าจำเลยหรือบริษัท อ. ไม่สามารถประกอบกิจการใด ๆโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนำมาจ่ายดอกเบี้ยตามสัญญาได้และเป็นเหตุให้จำเลยกับพวกหรือบริษัท อ.ได้กู้ยืมเงินไป จำเลยจึงมีความผิดตามมาตรา 4,12 แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวอีกบทหนึ่ง
****************************************
ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com


ทนายเล่าเรื่อง จำนวนผู้เสียหายมากน้อยเพียงใด ถือเป็นฉ้อโกงประชาชน


   การแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343ไม่ได้ถือเอาจำนวนผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงว่ามากหรือน้อยแต่ถือเอาเจตนาแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนเป็นสำคัญและไม่จำเป็นที่จำเลยจะต้องกระทำการดังกล่าวด้วยต้นเองมาตั้งแต่ต้นทุกครั้งเพียงแต่จำเลยแสดงข้อความอันเป็นเท็จแก่ผู้เสียหายบางคนแล้วมีการบอกต่อกันไปเป็นทอด ๆเมื่อผู้เสียหายคนหลังทราบข่าวและมาสอบถามจำเลยจำเลยได้ยืนยันแสดงข้อความอันเป็นเท็จนั้นและให้ผู้เสียหายไปติดต่อที่แฟลตทุกครั้ง อันถือได้ว่าเป็นสำนักงานของจำเลยกับพวก แม้จะไม่มีการประกาศรับสมัครงานปิดไว้ก็ตาม การกระทำของจำเลยก็เป็นการฉ้อโกง ประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 แล้ว จำเลยกับพวกมิได้เป็นผู้รับอนุญาตให้จัดหางานมิได้เป็นกรรมการหุ้นส่วนหรือผู้จัดการของผู้ได้รับอนุญาตให้จัดหางานซึ่งเป็นนิติบุคคล ประกอบกับฟ้องโจทก์ที่บรรยายไว้ชัดแจ้งว่าจำเลยกับพวกรู้อยู่แล้วว่ายังไม่มีตำแหน่งงานหรืออัตรางานในประเทศบาร์เรนตามที่โฆษณาชักชวนแสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่มีเจตนาที่จะจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายอย่างจริงจังเป็นเพียงอุบายหลอกลวงอ้างเรื่องการจัดหางานเพื่อให้ผู้เสียหายหลงเชื่อมอบค่าบริการให้จำเลยเท่านั้นไม่ต่างกับการหลอกลวงโดยอ้างเหตุอื่น ๆ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต
***************************************

7. คดียาเสพติด

ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com

ทนายเล่าเรื่อง ยาเสพติดเป็นภัยต่อชีวิตและสังคม เราต้องช่วยกันป้องกันครับ

โจทก์ฟ้องจำเลยให้การรับสารภาพ และคดีนี้มีอัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่าง และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงต้องห้าม มิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่งแต่จำเลยย่อมฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายว่า พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ มาตรา 15 วรรคสอง บัญญัติว่า "การผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 คำนวณ เป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ยี่สิบกรัมขึ้นไปให้ถือว่าผลิต นำเข้า ส่งออกหรือมีไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่าย" จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษ ในประเภท 1 จำนวน 50 เม็ด น้ำหนักรวม 4.12 กรัม จำเลย จึงน่าจะมีความผิดเพียงฐานมียาเสพติดไว้ในครอบครอง โดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้นได้ ยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง ในปริมาณ ซึ่งคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ 20 กรัม ขึ้นไป เป็นปริมาณที่ มาก จนกระทั่งกฎหมายเห็นว่า การผลิต นำเข้า ส่งออกหรือมีไว้ในครอบครองในปริมาณดังกล่าวผู้กระทำ น่าจะมีเจตนามิใช่เพื่อการใช้อย่างปกติทั่วไปคือเพื่อเสพ แต่น่าจะมีเจตนาพิเศษคือเพื่อจำหน่าย กฎหมายจึงสันนิษฐาน โดยให้ถือว่าการกระทำในปริมาณดังกล่าวเป็นการกระทำ โดยมีเจตนาเพื่อจำหน่าย แม้จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพียง 4.12 กรัมทั้งมิได้คำนวณเป็นปริมาณสารบริสุทธิ์ จะไม่เข้าข้อสันนิษฐานของบทกฎหมายที่ว่าจำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายก็ตามแต่ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นเพราะจำเลย มีเมทแอมเฟตามีนมากถึง 50 เม็ด และมีพฤติการณ์ว่าน่าจะมีไว้เพื่อจำหน่าย ในชั้นสอบสวนเมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาจำเลยเพิ่มเติมว่ามียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจำเลยให้การรับสารภาพ และในชั้นพิจารณา ของศาลจำเลยก็ให้การรับสารภาพเช่นเดิมอีก เมื่อศาลชั้นต้น สืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลยแล้วเชื่อว่าจำเลยมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจริงจึงได้ลงโทษตามพยานหลักฐานที่พิจารณาได้ความเช่นนี้ศาลล่างทั้งสองหาได้ลงโทษโดยนำข้อสันนิษฐานของกฎหมายมาปรับใช้ไม่ ดังนี้ คำพิพากษาศาลล่างทั้งสองจึงชอบแล้ว

******************************************
ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com

ทนายเล่าเรื่องยาเสพติด กฎหมายเอาผิดกับผู้ที่กระทำผิดกฎหมายทุกคน โดยเฉพาะคดีที่เกี่ยวกับยาเสพติดที่เป็นภัยสังคมครับ

การที่ ล. และ น. สามีภริยากันติดต่อซื้อขายยาเสพติดให้โทษกับจำเลยที่ 1 โดยใช้โทรศัพท์และ ล. กับ น. ตกลงว่าจ้างให้ ก. กับ จ. ลำเลียงยาเสพติดให้โทษไปจากจังหวัดเชียงรายเพื่อส่งมอบให้ อ. ผู้มารับช่วงลำเลียงต่อที่กรุงเทพมหานคร โดย อ. ไม่เคยรู้จัก ก. กับ จ. มาก่อน แต่จะติดต่อกันทางโทรศัพท์ หลังจาก อ. ได้รับยาเสพติดให้โทษจาก ก. กับ จ. แล้ว ก็จะลำเลียงต่อไปยังอำเภอหาดใหญ่เพื่อส่งมอบให้แก่จำเลยที่ 1 ผู้ซื้ออีกทอดหนึ่ง ลักษณะการตกลงกันเพื่อให้มีการขายและส่งมอบยาเสพติดให้โทษเช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นการคบคิดร่วมกัน อันเป็นความผิดฐานสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป เพื่อกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดฐานเป็นผู้สมคบกันกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามมาตรา 8 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 และข้อเท็จจริงได้ความว่าในที่สุดได้มีการส่งมอบยาเสพติดให้โทษของกลางให้แก่จำเลยที่ 1 รับไว้ในครอบครองแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและความผิดฐานเป็นผู้สมคบกันกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตาม มาตรา 8 วรรคสอง อีกด้วย แต่การกระทำความผิดทั้งสองข้อหามีเจตนาเดียวกันคือ เจตนาเพียงเพื่อต้องการมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานร่วมกันมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90

*****************************************
ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com

ทนายเล่าเรื่อง ติดยาเสพยา ขอฟื้นฟูได้ตามกฎหมาย

พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 19 กำหนดหลักเกณฑ์ผู้ซึ่งจะได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดว่าต้องเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดฐานเสพยาเสพติด เสพและมีไว้ในครอบครอง เสพและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือเสพและจำหน่ายยาเสพติดตามลักษณะ ชนิด ประเภท และปริมาณที่กำหนดในกฎกระทรวง และไม่ปรากฏว่าต้องหาหรืออยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกหรืออยู่ในระหว่างรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาล ให้พนักงานสอบสวนนำตัวผู้ต้องหาไปศาลภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหานั้นมาถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน เพื่อให้ศาลพิจารณามีคำสั่งให้ส่งตัวผู้นั้นไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด เพื่อดำเนินการต่อไปตามมาตรา 22 โดยให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดได้ตรวจวินิจฉัยว่าผู้ต้องหานั้นเป็นผู้เสพหรือติดยาเสพติดหรือไม่ เพื่อจะได้คัดแยกว่าผู้ต้องหานั้นเป็นผู้มีสิทธิเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดหรือต้องถูกดำเนินคดีต่อไปตาม ป.วิ.อ. ดังเช่นการกระทำความผิดทางอาญาอื่นๆ ซึ่งในระหว่างการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พนักงานสอบสวนยังคงดำเนินการสอบสวนคดีต่อไป และเมื่อผู้เสพติดได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจนครบถ้วนตามที่กำหนดในแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด และผลการการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเป็นที่พอใจของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแล้ว มาตรา 33 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ให้ถือว่าผู้นั้นพ้นจากความผิดที่ถูกกล่าวหาตามมาตรา 19 และให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดมีคำสั่งให้ปล่อยตัวผู้นั้นไป แต่ถ้ายังไม่พอใจ มาตรา 33 วรรคสอง บัญญัติให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดรายงานความเห็นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ แล้วแต่กรณีเพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินคดีผู้นั้นต่อไป

 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนชนิดเกล็ด 1 ถุง (หน่วยการใช้) น้ำหนักสุทธิ 0.08 กรัม และเสพเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดตามลักษณะ ชนิด ประเภทและปริมาณที่กำหนดในกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดลักษณะ ชนิด ประเภทและปริมาณของยาเสพติด พ.ศ.2546 โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยต้องหาหรืออยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกหรืออยู่ในระหว่างรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาล ถือว่าจำเลยเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่ระบุไว้ในมาตรา 19 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 แต่พนักงานสอบสวนไม่ได้นำตัวจำเลยไปศาลภายในกำหนดระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้ศาลพิจารณามีคำสั่งให้ส่งตัวจำเลยไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติดเพื่อให้จำเลยได้รับประโยชน์ในการที่จะได้รับการพิจารณาเข้าสู่ระบบการฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้ติดยาเสพติดแทนการถูกดำเนินคดีตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 แต่อย่างใด ดังนี้ การที่พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนจำเลยโดยมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 จึงเป็นการสอบสวนโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เท่ากับว่าไม่มีการสอบสวนมาก่อน และย่อมส่งผลให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 ทั้งกรณีมิใช่ล่วงเลยกำหนดระยะเวลาที่จะส่งจำเลยไปศาลเพื่อการตรวจพิสูจน์การเสพ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาใช้บังคับแก่จำเลยได้ แต่เป็นกรณีที่พนักงานสอบสวนไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 ข้างต้น
***************************************

8. คดีกู้ยืมเงิน

ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com 


ทนายเล่าเรื่อง เกี่ยวกับดอกเบี้ยผิดนัดถือเป็นเบี้ยปรับที่ศาลจะเพิ่มหรือลดได้


ข้อตกลงให้คิดดอกเบี้ยเพิ่มในกรณีลูกหนี้ผิดนัดนั้นเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในรูปของดอกเบี้ยที่คิดเพิ่มขึ้นจากเดิม ดอกเบี้ยที่คิดเพิ่มขึ้นนี้จึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 379 ซึ่งถ้าสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 แต่ที่ศาลอุทธรณ์ให้ลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปียังไม่ถูกต้อง เพราะตามสัญญามีข้อตกลงจะชำระดอกเบี้ยตามปกติโดยไม่ผิดนัดในอัตราร้อยละ 14 และ 13.75 ต่อปีและถ้าผิดนัดจึงจะคิดเพิ่มขึ้นจากนี้ ดังนี้ จึงเป็นเบี้ยปรับเฉพาะส่วนที่เกินจากร้อยละ 14 และ 13.75 ต่อปี การลดลงจึงลดลงได้ต่ำสุดในอัตราร้อยละ 14 และ 13.75 ต่อปีจะลดลงให้ต่ำกว่านี้ไม่ได้
************************************
ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com

ทนายเล่าเรื่อง เป็นกู้ยืมเงินหรือเช่าซื้อ

ส. และ ว. ตกลงทำสัญญาเช่าซื้อและรับสร้อยคอทองคำรูปพรรณด้วยความสมัครใจ แม้ความประสงค์เดิมของ ส. และ ว. คือต้องการกู้ยืมเงิน แต่เมื่อ ส. และ ว. ยินยอมทำสัญญาเช่าซื้อซึ่งเป็นวิธีทางการค้าของบริษัท จ. ย่อมถือว่า ส. และ ว. เปลี่ยนเจตนาเดิมที่ต้องการกู้ยืมเงินมายินยอมผูกพันตนตามสัญญาเช่าซื้อโดยสมัครใจ นอกจากนี้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ส. และ ว. ต่างนำสร้อยคอทองคำรูปพรรณไปขายได้เงินไม่เท่ากัน ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองไม่ทราบล่วงหน้าว่า ส. และ ว. จะขายสร้อยคอทองคำรูปพรรณหรือไม่ หรือหากขายจะได้เงินเพียงใด พฤติการณ์จึงฟังได้เพียงว่า จำเลยทั้งสองชักจูง ส. และ ว. ทำสัญญาเช่าซื้อสร้อยคอทองคำรูปพรรณจริง เพราะหากเป็นการให้กู้ยืมย่อมต้องทราบจำนวนเงินกู้ยืมที่แน่นอนขณะทำสัญญา นอกจากนี้หากจำเลยทั้งสองต้องการทำสัญญาเช่าซื้อเพื่ออำพรางการกู้เงิน ก็ย่อมสามารถมอบเงินกู้ให้ ส. และ ว. ได้ทันที โดยไม่จำต้องส่งมอบสร้อยคอทองคำรูปพรรณให้ ส. และ ว. เพื่อนำไปขายอีก พฤติการณ์แห่งคดีไม่อาจฟังว่าจำเลยทั้งสองร่วมกับพวกให้กู้เงินโดยทำสัญญาเช่าซื้ออันเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้เงินเพื่อเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3


9. คดีอาญา (ข้าราชการ) ทุจริต

ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com

ทนายเล่าเรื่อง คดีอาญาทุจริตเป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำผิดกฎหมาย ซึ่งจะต้องรับโทษสูงกว่าบุคคลธรรมดาครับ

ใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านเป็นหลักฐานแห่งการระงับซึ่งสิทธิของผู้ให้เช่าจึงเป็นเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(9)

 จำเลยนำใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านที่จำเลยปลอมขึ้นและเป็นเอกสารเท็จยื่นประกอบแบบใบขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านเพื่อเบิกเงินค่าเช่าบ้าน และจำเลยได้รับเงินค่าเช่าบ้านจากคลังจังหวัดชุมพรไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยทุจริตหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จเพื่อให้เจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพรหลงเชื่อว่าจำเลยได้เช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินดังกล่าวจริง และโดยการหลอกลวงดังกล่าวทำให้เจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพรหลงเชื่อและทำให้จำเลยได้รับเงินค่าเช่าบ้านตามที่จำเลยขอเบิกจ่ายไปจากเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพร อันน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เจ้าหน้าที่คลังจังหวัดชุมพร ก. และกรมส่งเสริมสหกรณ์ การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 และฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมตาม มาตรา 268

 จำเลยกระทำความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่รับเอกสารและกรอกข้อความลงในเอกสารรับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นความเท็จ ซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162(4)และฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดและโดยทุจริตตามมาตรา 157 เมื่อเป็นความผิดตามมาตรา 162(4)ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้วจึงไม่ปรับบทลงโทษตามมาตรา 157 อีก

 การที่จำเลยซึ่งดำรงตำแหน่งสหกรณ์จังหวัดชุมพรซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดชุมพร ได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรให้ทำการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรในการอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านของข้าราชการและลูกจ้างในสำนักงานสหกรณ์จังหวัดชุมพร ได้ทำการอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินในแบบใบขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านโดยรู้อยู่แล้วว่าเอกสารใบขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านและใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านเป็นเอกสารปลอม และมีข้อความเท็จโดยจำเลยได้ลงลายมือชื่ออนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านได้จึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดและโดยทุจริตอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

 ตามเอกสารพิพาทเป็นเอกสารของจำเลยที่จำเลยนำเงินส่วนที่เบิกเกินไปคืนแก่ทางราชการและตามใบเสร็จรับเงินของกรมส่งเสริมสหกรณ์ที่ได้รับเงินจากจำเลยไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันในความผิดฐานฉ้อโกงและลำพังการที่จำเลยส่งเงินส่วนที่จำเลยเบิกเกินคืนกรมส่งเสริมสหกรณ์และกรมส่งเสริมสหกรณ์รับไว้ ก็เพียงแต่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดทางแพ่งเท่านั้นไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดทางอาญา และยังถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความกันอันจะทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงเป็นอันระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกง และในความผิดฐานอื่น

 การที่จำเลยปลอมใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านอันเป็นเอกสารสิทธิซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 นั้น จำเลยกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน และการที่จำเลยได้นำแบบคำขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านและใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านอันเป็นเอกสารสิทธิที่จำเลยทำปลอมขึ้นดังกล่าวซึ่งมีข้อความเท็จเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เพื่อให้เจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพรหลงเชื่อว่าจำเลยได้เช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินดังกล่าวจริงและโดยการหลอกลวงทำให้เจ้าหน้าที่ตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพรหลงเชื่อและทำให้จำเลยได้รับเงินตามที่ขอเบิกจ่ายไปจากเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพรอันเป็นความผิดตามมาตรา 341 และมาตรา 268 และการที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่กรอกข้อความรับรองคำขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านได้รับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นความเท็จ อันเป็นความผิดตามมาตรา 162(4) และการที่จำเลยในฐานะที่ดำรงตำแหน่งสหกรณ์จังหวัดชุมพรซึ่งเป็นหัวหน้าสำนักงานสหกรณ์จังหวัดชุมพรได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรในการอนุมัติการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านแทนผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรได้ลงลายมือชื่ออนุมัติการเบิกจ่ายค่าเช่าบ้านของจำเลยในแบบคำขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านที่จำเลยปลอมขึ้นและมีข้อความอันเป็นเท็จ อันเป็นความผิดตามมาตรา 157 นั้นเป็นการกระทำคนละครั้งคนละคราวกัน แต่การที่จำเลยปลอมใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้าน นำใบเสร็จดังกล่าวไปใช้ประกอบการยื่นคำขอเบิกเงินค่าเช่าบ้าน ลงลายมือชื่อรับรองการเบิกเงินค่าเช่าบ้านรวมทั้งลงลายมือชื่ออนุมัติการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านในแต่ละเดือนดังกล่าวนั้น แม้จะเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน แต่ก็เป็นการกระทำโดยมีเจตนาและจุดประสงค์ในผลอันเดียวกัน คือมุ่งที่จะได้รับเงินค่าเช่าบ้าน การกระทำดังกล่าวตั้งแต่ปลอมใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านจนถึงการอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านจึงเป็นกระบวนการเดียวกันเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าเช่าบ้านตามที่จำเลยประสงค์และเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกัน จึงถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวกันในแต่ละเดือนแต่ละคำขอ ตามมาตรา 90เมื่อจำเลยกระทำการดังกล่าวรวม 12 เดือน เดือนละหนึ่งครั้งรวม 12 ครั้ง จึงถือได้ว่าจำเลยกระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 และในแต่ละกรรมต้องลงโทษในบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดคือตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
***********************************

ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com

ทนายเล่าเรื่อง ตำรวจทำตามหมายศาลหรือตามอำเภอใจดูได้ที่ฎีกานี้

เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าบริเวณที่เกิดเหตุอยู่บนถนนสุทธาวาสไม่ใช่หลังซอยโรงถ่านตามที่สิบตำรวจโท ก. และสิบตำรวจตรี พ. อ้างว่ามีอาชญากรรมเกิดขึ้นประจำแต่อย่างใด และจำเลยไม่มีท่าทางเป็นพิรุธคงเพียงแต่นั่งโทรศัพท์อยู่เท่านั้น การที่สิบตำรวจโท ก. และสิบตำรวจตรี พ. อ้างว่าเกิดความสงสัยในตัวจำเลยจึงขอตรวจค้น โดยไม่มีเหตุผลสนับสนุนว่าเพราะเหตุใดจึงเกิดความสงสัยในตัวจำเลย จึงเป็นข้อสงสัยที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้สึกเพียงอย่างเดียว ถือไม่ได้ว่ามีเหตุอันควรสงสัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 93 ที่จะทำการตรวจค้นได้ การตรวจค้นตัวจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยซึ่งถูกกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงมีสิทธิโต้แย้งและตอบโต้เพื่อป้องกันสิทธิของตน ตลอดจนเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งใด ๆ อันสืบเนื่องจากการปฏิบัติที่ไม่ชอบดังกล่าวได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง

***************************************
ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com

ทนายเล่าเรื่อง แม้จะวินิจฉัยผิดพลาดก็ไม่ต้องรับผิด ( ปี 2496)

การที่คณะรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองประเทศได้สำเร็จนั้น คณะรัฐประหารย่อมมีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขยกเลิกและออกกฎหมายตามระบบแห่งการปฏิวัติเพื่อบริหารประเทศชาติต่อไปได้มิฉะนั้นประเทศชาติจะตั้งอยู่ด้วยความสงบไม่ได้ ดังนั้นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร (ฉบับชั่วคราว)พ.ศ.2490 จึงเป็นกฎหมายอันสมบูรณ์ การแต่งตั้งให้ผู้ใดเป็นรัฐมนตรีในตอนนั้น ก็ย่อมเป็นการชอบด้วย

   คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังที่สั่งให้ปลดปลัดกระทรวงฐานประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง อันเป็นความผิด ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2485 มาตรา 61 และอาศัยอำนาจตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.กำหนดวิธีการพิจารณาลงโทษข้าราชการผู้กระทำผิดหน้าที่หรือหย่อนความสามารถ พ.ศ.2490 นั้น เป็นคำสั่งที่ออกมาในทางราชการโดยอำนาจและหน้าที่ในตำแหน่งราชการด้วย การใช้ดุลยพินิจวินิจฉัยตามบทกฎหมายที่ให้อำนาจ เมื่อฟังได้ว่า เป็นการกระทำโดยสุจริตในอำนาจและหน้าที่ ทั้งมิได้มุ่งที่จะให้เกิดเสียหายแก่ผู้ใด ดังนี้ แม้จะวินิจฉัยผิดพลาด ก็หาเป็นละเมิดไม่
***************************************

10. คดีฟ้องแพทย์และโรงพยาบาล

ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com

ทนายเล่าเรื่อง ทุกอาชีพมีเกียรติ มีศักดิ์ศรีครับ อาชีพแพทย์เป็นอาชีพที่ทุกคนใผ่ฝันสมัยที่เป็นนักเรียน นักศึกษา แต่เมื่อคุณทำอาชีพอันทรงเกียรตินี้ คุณต้องมีจรรยาบรรณ หาใช่กระทำการทุกอย่างได้ตามใจ เช่นเรื่องนี้ครับ

การที่จำเลยแอบติดตั้งกล้องบันทึกภาพไว้ที่ใต้โต๊ะทำงานของโจทก์ร่วม และบันทึกภาพสรีระร่างกายของโจทก์ร่วมตั้งแต่ช่วงลิ้นปี่จนถึงอวัยวะช่วงขามองเห็นกระโปรงที่โจทก์ร่วมสวมใส่ ขาท่อนล่างและขาท่อนบนของโจทก์ร่วม โดยที่กล้องบันทึกภาพมีแสงไฟสำหรับเพิ่มความสว่างเพื่อให้มองเห็นภาพบริเวณใต้กระโปรงของโจทก์ร่วมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น การกระทำของจำเลยส่อแสดงให้เห็นถึงความใคร่และกามารมณ์ โดยที่โจทก์ร่วมมิได้รู้เห็นหรือยินยอม อันเป็นการกระทำที่ไม่สมควรในทางเพศต่อโจทก์ร่วม โดยโจทก์ร่วมตกอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ แม้จำเลยจะมิได้สัมผัสต่อเนื้อตัวร่างกายของโจทก์ร่วมโดยตรง แต่การที่จำเลยใช้กล้องบันทึกภาพใต้กระโปรงโจทก์ร่วมในระยะใกล้ชิด โดยโจทก์ร่วมไม่รู้ตัวย่อมรับฟังได้ว่า จำเลยได้กระทำโดยประสงค์ต่อผลอันไม่สมควรในทางเพศต่อโจทก์ร่วม โดยใช้กำลังประทุษร้ายตามมาตรา 1 (6) แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งการใช้กำลังประทุษร้ายอันเป็นองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 278 นอกจากหมายความว่า ทำการประทุษร้ายแก่กายแล้ว ยังหมายความว่าทำการประทุษร้ายแก่จิตใจด้วย ไม่ว่าจะทำด้วยใช้แรงกายภาพหรือด้วยวิธีอื่นใด และให้หมายความรวมถึงการกระทำใด ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ การกระทำของจำเลยดังกล่าว ทำให้โจทก์ร่วมต้องรู้สึกสะเทือนใจอับอายขายหน้า จึงถือว่าเป็นการประทุษร้ายแก่จิตใจของโจทก์ร่วมแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำอนาจารโจทก์ร่วม ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 278 

   ห้องตรวจคนไข้ที่เกิดเหตุ เป็นส่วนหนึ่งของโรงพยาบาลเนินสง่า อันเป็นสถานที่ราชการซึ่งเป็นสาธารณสถาน แม้ประชาชนที่ไปใช้บริการในห้องตรวจคนไข้ที่เกิดเหตุจะต้องได้รับอนุญาต และผ่านการคัดกรองจากพยาบาลหน้าห้องตรวจก่อน แต่ก็เป็นเพียงระเบียบขั้นตอนและวิธีปฏิบัติในการใช้บริการของโรงพยาบาลเท่านั้น หาทำให้ห้องตรวจคนไข้ดังกล่าวซึ่งเป็นสาธารณสถานที่ประชาชนมีความชอบธรรมจะเข้าไปได้ ต้องกลับกลายเป็นที่รโหฐานแต่อย่างใดไม่ ห้องตรวจคนไข้ที่เกิดเหตุจึงยังคงเป็นสาธารณสถาน ดังนั้น การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบความผิดฐานกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการรังแก หรือข่มเหงผู้อื่น หรือกระทำให้ผู้อื่นได้รับความอับอาย หรือเดือดร้อนรำคาญในที่สาธารณสถานตาม ป.อ. มาตรา 397
*************************************
ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com

ทนายเล่าเรื่อง การบริจากอวัยวะก็อาจจะเป็นปัญหาถ้า ผู้รับบริจากไม่สุจริต

ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสองประกอบ มาตรา 216 วรรคหนึ่งและมาตรา 225 วางหลักว่า ฎีกาทุกฉบับต้องมีข้อคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ระบุข้อเท็จจริงโดยย่อหรือข้อกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างอิงเป็นลำดับ คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องในความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่น โจทก์ร่วมที่ 2 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ร่วมที่ 2 ฎีกาโดยคัดลอกข้อความที่อุทธรณ์มาเป็นฎีกาทั้งสิ้นและศาลอุทธรณ์ได้มีคำวินิจฉัยในปัญหาเดียวกันไว้แล้ว ฎีกาของโจทก์ร่วมที่ 2 มิได้ยกเหตุผลคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้อง หรือคลาดเคลื่อนอย่างไร ที่ถูกแล้วศาลอุทธรณ์ควรวินิจฉัยอย่างไรและด้วยเหตุผลใด ไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว จึงไม่อาจใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ได้ แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาและศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์ร่วมที่ 2 มาเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

 โจทก์ฎีกาว่า ขณะที่จำเลยที่ 1 และที่ 4 ร่วมกันผ่าตัดเอาไตทั้ง 2 ข้าง และตับออกจากร่างกายของ ล. และจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันผ่าตัดเอาไตทั้ง 2 ข้าง ออกจากร่างกายของ น. เพื่อนำเอาอวัยวะนั้นไปทำการปลูกถ่ายอวัยวะให้แก่บุคคลอื่น ล. และ น.ยังไม่อยู่ในสภาวะสมองตาย คือ การที่แกนสมองถูกทำลายจนสิ้นสุดการทำงานโดยสิ้นเชิงนั้น เห็นว่า เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โดยให้เหตุผลว่า ผู้ป่วยราย ล. และ น. ประสบอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะฐานกะโหลกแตกและสมองถูกกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง ทำให้สมองบวมกดแกนสมองเคลื่อนไป แพทย์ตรวจพบว่า ผู้ป่วยทั้งสองราย ไม่รู้สึกตัวและอยู่ในเครื่องช่วยหายใจ เนื่องจากไม่หายใจ เกณฑ์การตรวจและวินิจฉัยสมองตายกระทำโดยการตรวจและทดสอบตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศของแพทยสภา เรื่อง เกณฑ์การวินิจฉัยสมองตายและตามหลักวิชาทางการแพทย์ ปรากฏว่าผู้ป่วยทั้งสองรายนี้ไม่รู้สึกตัว ไม่ตอบสนองต่อความเจ็บปวด และเมื่อถอดเครื่องช่วยหายใจออกก็ไม่หายใจ แสดงให้เห็นได้ว่าแกนสมองของผู้ป่วยทั้งสองรายนี้ถูกทำลายจนสิ้นสุดการทำงานโดยสิ้นเชิงตลอดไปแล้ว ทำให้ไม่สามารถหายใจได้อย่างแน่นอน ก่อนทำการผ่าตัดวิสัญญีแพทย์ตรวจพบว่า ผู้ป่วยทั้งสองรายไม่ตอบสนองต่อความเจ็บปวด แกนสมองตายแล้วและไม่หายใจเช่นเดียวกัน จึงน่าเชื่อว่าก่อนทำการผ่าตัดนำอวัยวะออกไปนั้น ผู้ป่วยทั้งสองรายแกนสมองตาย มีผลทำให้หัวใจขาดออกซิเจน กล้ามเนื้อหัวใจจะหยุดทำงานและหัวใจจะหยุดเต้นในเวลาต่อมา โจทก์อุทธรณ์โดยมิได้โต้แย้งคำวินิจฉัยในส่วนดังกล่าว ข้อเท็จจริงจึงรับฟังยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า ล. และ น. อยู่ในสภาวะสมองตายก่อนที่จะมีการผ่าตัดเอาอวัยวะออกจากร่างกายไปทำการปลูกถ่ายอวัยวะให้แก่บุคคลอื่น ฎีกาของโจทก์ข้อนี้จึงเป็นการหยิบยกข้อเท็จจริงซึ่งยุติไปแล้วมาโต้เถียงใหม่ในชั้นฎีกา จึงเป็นฎีกาที่มิได้ยกว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และเป็นกรณีไม่อาจอนุญาตหรือรับรองให้ฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ที่โจทก์ฎีกาต่อไปว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะอ้างว่ามีการวินิจฉัยสมองตายตามหลักเกณฑ์การวินิจฉัยสมองตายตามประกาศแพทยสภาไม่ได้ เนื่องจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภา เช่น ไม่ได้กระทำโดยองค์คณะแพทย์ไม่น้อยกว่า 3 คน ไม่ได้บันทึกว่าแกนสมองตายนั้น เห็นว่า ข้อความในฎีกาโจทก์เป็นทำนองเดียวกับที่โจทก์กล่าวในอุทธรณ์อันเป็นการโต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าแกนสมองของ ล. และ น. ถูกทำลายจนสิ้นสุดการทำงานโดยสิ้นเชิงตลอดไป บุคคลทั้งสองจึงอยู่ในสภาวะสมองตายตามประกาศแพทยสภา เรื่อง เกณฑ์การวินิจฉัยสมองตายฉบับแรกและฉบับที่ 2 ก่อนทำการผ่าตัดนำอวัยวะของ ล. และ น. ออกไป วิสัญญีแพทย์ ตรวจผู้ป่วยทั้งสองแล้ว ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว ไม่ตอบสนองต่อความเจ็บปวด และเมื่อปลดเครื่องช่วยหายใจออกจากท่อแล้วผู้ป่วยไม่หายใจเอง ข้อเท็จจริงดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า แกนสมองของผู้ป่วยทั้งสองคนถูกทำลายจนไม่สามารถทำงานต่อไปได้แล้ว ทำให้ไม่สามารถหายใจได้เองโดยปราศจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งเข้าหลักเกณฑ์การวินิจฉัยสมองตายตามประกาศแพทยสภา แม้การวินิจฉัยเรื่องแกนสมองตาย จะขาดตกบกพร่องไปบ้าง เช่น ไม่ได้ใช้แบบพิมพ์ของแพทยสภา หรือการวินิจฉัยสมองตายกระทำโดยแพทย์ไม่ครบ 3 คน ก็เป็นความบกพร่องในด้านการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่แพทยสภากำหนดไว้ ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ถูกลงโทษโดยแพทยสภาไปแล้ว โดยโจทก์มิได้โต้แย้งว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไรและด้วยเหตุผลใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบมาตรา 216 วรรคหนึ่ง และมาตรา 225 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

 ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า การตายของ ล. และ น. จะนำหลักเกณฑ์ตามประกาศแพทยสภา เรื่อง เกณฑ์การวินิจฉัยสมองตายซึ่งออกในปี 2532 และตามประกาศแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 ปี 2539 มาใช้ไม่ได้ เนื่องจากเป็นการวินิจฉัยการตายในทางการแพทย์ที่จะใช้ในการเปลี่ยนปลูกถ่ายอวัยวะ แต่คดีนี้จะต้องวินิจฉัยการตายตามความหมายในทางกฎหมาย คือ การไม่หายใจและหัวใจหยุดทำงาน นั้น เห็นว่า ป.อ. มาตรา 288 ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นมีองค์ประกอบความผิดประการหนึ่ง คือ ฆ่า คำว่า "ฆ่า" เป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไปว่า หมายถึงการกระทำด้วยประการใดๆ ให้คนตาย แต่ตาม ป.อ. มิได้กำหนดบทนิยามคำว่า "ตาย" ว่ามีความหมายอย่างไร และไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดนิยามความตายให้ชัดแจ้ง เมื่อตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 กำหนดให้แพทย์เป็นผู้ออกหนังสือรับรองการตาย ดังนั้น การวินิจฉัยการตายจึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ต้องให้แพทย์ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้วินิจฉัย โดยที่งานของแพทย์มีลักษณะเป็นวิชาชีพ จึงเป็นงานที่ต้องมีกรอบขนบธรรมเนียมและจรรยาบรรณของหมู่คณะโดยเฉพาะ และเป็นการใช้ความรู้ในวิทยาการเฉพาะด้านที่ผู้อื่นไม่อาจรู้ได้ทั้งหมด อีกทั้งมีวิวัฒนาการด้านการรักษาและวิทยาการเทคโนโลยีทางด้านการแพทย์ที่เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว การประกอบวิชาชีพเวชกรรมจึงมีกฎหมายควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพนี้เป็นพิเศษและมีการสอดส่องดูแลโดยบุคคลในวิชาชีพเดียวกันเพื่อให้การประกอบวิชาชีพเป็นไปโดยถูกต้องตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ขณะเกิดเหตุ วิทยาศาสตร์การแพทย์ด้านการปลูกถ่ายอวัยวะในผู้ป่วยที่มีปัญหาการสูญเสียหน้าที่การทำงานของอวัยวะหรือมีความล้มเหลวของอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ ตับ ไต เป็นต้น มีความก้าวหน้าจนสามารถเอาอวัยวะจากผู้ที่ตายแล้วหรือยังมีชีวิตอยู่นำไปปลูกถ่ายอวัยวะให้แก่ผู้ป่วยได้ ในการนี้ได้มีประกาศแพทยสภา เรื่อง เกณฑ์การวินิจฉัยสมองตาย พ.ศ.2532 และประกาศแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ.2539 กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการวินิจฉัยสมองตายมีสาระสำคัญว่า การวินิจฉัยคนตายโดยอาศัยเกณฑ์สมองตายนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องนำไปใช้โดยเฉพาะกับการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะสำคัญของมนุษย์ และอาจนำไปใช้ในกรณีอื่นๆ ในอนาคตเพื่อความเจริญก้าวหน้าทางวิชาชีพและเพื่อประโยชน์ของประชาชน บุคคลซึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าสมองตาย ถือว่า บุคคลนั้นถึงแก่ความตาย สมองตายหมายถึง การที่แกนสมองถูกทำลายจนสิ้นสุดการทำงานโดยสิ้นเชิงตลอดไป แพทย์เป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยและตัดสินการตายของสมองตามเกณฑ์ของวิชาชีพ ดังนั้น เมื่อแพทย์ใช้วิธีการที่ได้รับการยอมรับในการสรุปว่าคนไข้นั้นถึงแก่ความตายแล้ว บุคคลผู้อยู่ในสภาวะสมองตาย คือ การที่แกนสมองถูกทำลายจนสิ้นสุดการทำงานโดยสิ้นเชิงตลอดไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการวินิจฉัยสมองตายที่คณะกรรมการแพทยสภากำหนดและออกเป็นประกาศแพทยสภาตามประกาศแพทยสภาดังกล่าว ย่อมถือได้ว่า เป็นการตายของบุคคล การที่จำเลยที่ 1 และที่ 4 แพทย์ผู้ร่วมผ่าตัดเอาไต ทั้ง 2 ข้างและตับออกจากร่างกายของ ล. และจำเลยที่ 1 และที่ 2 แพทย์ผู้ร่วมผ่าตัดเอาไต ทั้ง 2 ข้าง ออกจากร่างกายของ น. ซึ่งอยู่ในสภาวะสมองตายตามประกาศแพทยสภา เรื่อง เกณฑ์การวินิจฉัยสมองตาย เพื่อนำเอาอวัยวะนั้นไปทำการปลูกถ่ายอวัยวะให้แก่บุคคลอื่น จึงเป็นการกระทำต่อบุคคลที่ตายแล้วไม่มีสภาพเป็นบุคคลที่จะถูกฆ่าได้อีก ไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่น
******************************************
มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้คุณได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้คุณ.com

ทนายเล่าเรื่อง ฟ้องผู้กระทำผิดสถานประกอบการ

จำเลยเป็นผู้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล บุตรของโจทก์ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ที่นั่งซ้อนท้ายชนแผงเหล็กกั้นทางโค้งปากทางเข้าหมู่บ้านเมืองเอก และผู้ขับขี่ถึงแก่ความตายในที่เกิดเหตุ บุตรของโจทก์มีอาการเจ็บปวด มีภาวะการบอบช้ำของสมองและโลหิตออกในสมอง จะต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที แม้ไม่ปรากฏบาดแผลร้ายแรงที่มองเห็นจากภายนอก แต่พยาบาลเวรซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยกลับให้ผู้ช่วยพยาบาลตรวจค้นหลักฐานในตัวบุตรของโจทก์ว่ามีบัตรประกันสังคม บัตรประกันสุขภาพ 30 บาท หรือบัตรประกันชีวิตหรือไม่ เมื่อไม่พบหลักฐานใด จึงสอบถามเจ้าหน้าที่อาสาสมัครมูลนิธิที่เป็นผู้นำส่งว่าใครจะรับผิดชอบค่าใช้จ่าย เมื่อไม่มีคำตอบ จึงปฏิเสธที่จะรับบุตรของโจทก์ไว้รักษา โดยแนะนำให้ไปรักษายังโรงพยาบาลของรัฐ การที่พยาบาลเวรลูกจ้างของจำเลยปฏิเสธไม่รับบุตรของโจทก์เข้ารับการรักษาดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นผลโดยตรงที่ทำให้บุตรของโจทก์ถึงแก่ความตาย จำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล มีหน้าที่ต้องควบคุมและดูแลให้มีการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วย ซึ่งอยู่ในสภาพอันตรายและจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยฉุกเฉิน เพื่อให้ผู้ป่วยพ้นจากอันตรายตามมาตรฐานวิชาชีพตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 มาตรา 36 แต่กลับไม่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของลูกจ้างดังกล่าว จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์
**************************************

11. คดีนิติบุคคลอาคารชุด

ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com

ทนายเล่าเรื่อง ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ต้องใส่ใจเรื่องอะไรที่นำไปขออนุญาตจัดสรรที่ดิน ถนน ไฟฟ้า ประปา เป็นทรัพย์สินส่วนกลาง ศึกษาหาความรู้จากคำพิพากษาฎีกานี้ครับ

หมู่บ้านจัดสรรของจำเลยได้รับใบอนุญาตจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย แสดงว่ามีการจัดทำแผนผังโครงการและวิธีการในการจัดสรรที่ดินหรือประโยชน์เกี่ยวกับสาธารณสุข การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การคมนาคม การจราจร ความปลอดภัย การสาธารณูปโภค และการผังเมือง มีหลักเกณฑ์และผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการและได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 แล้ว สิ่งก่อสร้าง ถนน หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่ทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในการจัดสรรที่ดินดังกล่าวนี้ ย่อมถือเป็นทรัพย์สินที่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ได้ร่วมกัน บุคคลใดจะทำให้เสื่อมค่าทำให้ขาดประโยชน์ หรือผิดแผกไปจากที่ได้รับอนุญาตแล้วมิได้

 โจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินจัดสรรโฉนดเลขที่ 6516 พร้อมบ้านจากโครงการของจำเลย ต่อมาโจทก์ที่ 1 ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 911 จากผู้มีชื่อ อันเป็นที่ดินนอกโครงการจัดสรรและไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ แต่มีอาณาเขตด้านหนึ่งอยู่ติดกับที่ดินโฉนดเลขที่ 6516 โจทก์ประสงค์จะรื้อรั้วด้านที่ติดกันออก แล้วกั้นรั้วใหม่ให้เป็นผืนเดียวกันและถมที่ดินให้มีระดับเสมอกัน แต่จำเลยห้ามมิให้โจทก์ทั้งสองรื้อรั้วและใช้ทางเพื่อประโยชน์ของที่ดินโฉนดเลขที่ 911 เห็นว่า รั้วและทางเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรจัดให้มีขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร ผู้ใดก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือก่อให้เพิ่มภาระผูกพันโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมาย โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิรื้อรั้วและใช้ถนนในหมู่บ้านเพื่อประโยชน์ของที่ดินโจทก์ทั้งสองที่อยู่นอกหมู่บ้านจัดสรรได้
**************************************
ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com

ทนายเล่าเรื่อง เรื่องวุ่นๆในเรื่องเจ้าของกรรมสิทธิในห้องชุด หนี้ใหรบังคับได้อะไร อย่าไร ศึกษาหาความรู้ได้ตามคำพิพากษานี้ครับ

ฎีกาของโจทก์ที่ว่า โจทก์ขอฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในประเด็นข้อกฎหมายที่โจทก์จะยกอายุความสิทธิเรียกร้องมาบังคับให้จำเลยที่ 1 รับชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางเฉพาะส่วนที่ไม่ขาดอายุความ โดยอ้างว่าโจทก์เป็นผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด แม้นิติบุคคลอาคารชุดจะมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ขอจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดชำระหนี้อันเกิดจากหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางได้ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 29 แต่เมื่อหนี้ดังกล่าวมีอายุความ 5 ปี โจทก์จึงมีสิทธิขอชำระเพียงหนี้ย้อนหลังไม่เกิน 5 ปี ถือเป็นการกล่าวชัดแจ้งในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายขึ้นโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว ฎีกาของโจทก์เป็นฎีกาที่ชอบด้วยกฎหมาย

 ค่าใช้จ่ายส่วนกลางซึ่งเจ้าของร่วมมีหน้าที่ต้องชำระให้แก่นิติบุคคลอาคารชุด แม้ พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 บัญญัติขึ้นภายหลัง ป.พ.พ. และมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวมของเจ้าของร่วมก็ตาม แต่เมื่อ พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มิได้บัญญัติอายุความในการใช้สิทธิเรียกร้องสำหรับเงินดังกล่าวไว้โดยเฉพาะ จึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. เมื่อตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 กำหนดให้ชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางเป็นรายเดือน แต่ไม่ชำระจึงถือเป็นเงินค้างจ่าย ซึ่งมีอายุความ 5 ปี ตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (4) ได้บัญญัติไว้แล้ว ค่าปรับและเงินเพิ่มอันเกิดจากการไม่ชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางเป็นหนี้อุปกรณ์ของค่าใช้จ่ายส่วนกลางจึงมีอายุความ 5 ปี เช่นเดียวกับหนี้ประธาน มิใช่เป็นกรณีที่ ป.พ.พ. หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติอายุความไว้อันจะต้องนำอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 มาใช้บังคับแต่อย่างใด

 ในการใช้สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ ป.พ.พ. มาตรา 193/9 บัญญัติว่า ถ้ามิได้ใช้บังคับภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด สิทธิเรียกร้องนั้นเป็นอันขาดอายุความ อันเป็นบทบังคับเจ้าหนี้ที่ต้องใช้สิทธิเรียกร้องเสียภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เพราะไม่เช่นนั้นลูกหนี้ย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/10 และที่ ป.พ.พ. มาตรา 193/29 บัญญัติว่า เมื่อไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลจะอ้างอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้ มิได้มีความหมายเพียงว่าเจ้าหนี้ต้องใช้สิทธิเรียกร้องเสียก่อน ลูกหนี้จึงมีสิทธิที่จะปฏิเสธโดยยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้เท่านั้น หากแต่การที่ลูกหนี้ฟ้องคดีเพื่อขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยจะขอชำระหนี้ตามสิทธิอันพึงมีพึงได้ของเจ้าหนี้เท่าที่มีอยู่ภายใต้กำหนดระยะเวลาแห่งอายุความ ย่อมเท่ากับเป็นการปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้โดยยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้แล้ว เพราะมีผลทำให้เจ้าหนี้ไม่สามารถบังคับชำระหนี้ส่วนที่ล่วงพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดเช่นเดียวกับการต่อสู้คดีในกรณีที่ลูกหนี้ถูกฟ้อง ศาลจึงยกอายุความขึ้นมาวินิจฉัยได้โดยชอบ

 โจทก์เป็นเพียงผู้ซื้อทรัพย์มิใช่ลูกหนี้ผู้ซึ่งค้างชำระหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง แต่การที่โจทก์มีภาระหน้าที่ที่ต้องชำระหนี้สินค้างชำระให้แก่จำเลยที่ 1 ก่อนจึงจะโอนกรรมสิทธิ์ในห้องชุดได้ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 18, 29 และ 41 ที่กำหนดเป็นเงื่อนไขของการขายทอดตลาดตามประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีและตามที่กฎหมายบัญญัติบังคับไว้ ย่อมมีผลเท่ากับโจทก์ได้ทำสัญญาตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกแทนลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 นั่นเอง ชอบที่โจทก์จะยกอายุความขึ้นต่อสู้จำเลยที่ 1 ผู้ได้รับประโยชน์จากสัญญานั้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 376 เมื่อหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ค่าปรับและเงินเพิ่มเป็นเงินค้างจ่าย มีอายุความ 5 ปี และโจทก์ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้แล้ว โจทก์จึงคงรับผิดรับชำระหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ค่าปรับและเงินเพิ่มค้างชำระให้แก่จำเลยที่ 1 ย้อนหลังไม่เกิน 5 ปี สำหรับค่าปรับและเงินเพิ่มซึ่งโจทก์มิได้มีคำขอให้ศาลมีคำพิพากษาในลักษณะอย่างไร แต่เมื่อโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระ ศาลชั้นต้นย่อมพิพากษาให้โจทก์รับผิดต่อจำเลยที่ 1 ได้ ไม่เป็นการเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง และตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ที่กำหนดค่าปรับไว้อัตราร้อยละ 10 ต่อเดือน ของจำนวนเงินที่ค้างชำระ ก็ถือเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ ป.พ.พ. มาตรา 381 วรรคหนึ่ง ซึ่งถ้าสูงเกินส่วนศาลย่อมลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา 383 วรรคหนึ่ง
***************************************
มีคดีที่ศาลใหน ปรึกษาทนายใกล้ศาลนั้น 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้ศาลได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้ศาล.com

ทนายเล่าเรียน อยู่ร่วมกันต้องมีหน้าที่ร่วมกันจ่ายค่าส่วนกลาง

ค่าใช้จ่ายส่วนกลางนั้น เป็นหนี้ที่เกิดตามกฎหมายพ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 18 ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ไม่ได้เกิดขึ้นจากการทำสัญญาระหว่างกัน และเป็นหนี้เงินซึ่งตามป.วิ.พ.ได้บัญญัติหลักเกณฑ์การบังคับชำระหนี้โดยการใช้สิทธิทางศาลเพื่อให้พิจารณาพิพากษาบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้ และตามพ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 ก็ไม่ได้บัญญัติให้จำเลยทั้งสองบังคับชำระหนี้โดยวิธีอื่นหรือโดยพลการ นอกจากนี้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของห้องชุดย่อมมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนบุคคลของตนในอาคารชุด และมีกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ส่วนกลางด้วย ตามพ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 13 วรรคหนึ่ง จึงมีสิทธิใช้สอยทรัพย์ส่วนกลางที่มีกรรมสิทธิ์ร่วมนั้นด้วย ย่อมไม่ชอบที่จำเลยที่ 1 จะใช้วิธีการขัดขวางการใช้ทรัพย์สินส่วนกลางของโจทก์เพื่อเป็นมาตรการบังคับให้โจทก์ชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลาง อันเป็นการละเมิดต่อสิทธิในทรัพย์สินของโจทก์โดยพลการ

    โจทก์ไม่ชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางเพราะจำเลยที่ 1 นำเงินไปใช้จ่ายโดยพลการ โจทก์ก็ต้องว่ากล่าวดำเนินคดีเอาแก่จำเลยที่ 1 เพื่อไม่ให้กระทำเช่นนั้นหรือให้ชำระค่าเสียหาย ไม่เป็นเหตุโดยชอบที่โจทก์จะอ้างขึ้นเพื่อไม่ปฏิบัติตามกฎหมายในการชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลาง

***************************************

12. คดีภาษีอากร

ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com

ทนายเล่าเรื่อง เทศบาล (ไม่ได้) ความ เรื่องการเรียกเก็บภาษีป้ายจากผู้ประกอบการทั้งหลาย

พนักงานเจ้าหน้าที่ของเทศบาลจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีป้ายสำหรับกรณีสถานีบริการน้ำมันประจำปี 2545 ถึงปี 2548 ครั้งแรก ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2548 จำนวน 4 ฉบับ และยังไม่มีการยกเลิกการประเมิน เมื่อโจทก์ไม่พอใจย่อมมีสิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อนายกเทศมนตรีจำเลยที่ 2 ตามพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510 มาตรา 30 ได้ เมื่อโจทก์อุทธรณ์การประเมินภาษีป้ายครั้งแรกในรายการป้ายใหญ่ซึ่งติดตั้งด้านหน้าสถานีบริการน้ำมันเฉพาะในส่วนที่มีเครื่องหมายกรมสรรพากรและข้อความเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากมิเตอร์หัวจ่าย และป้ายราคาน้ำมันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ประเมินให้เสียภาษีป้ายปีละ 366 บาท แม้ต่อมาจำเลยที่ 2 จะแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับลงวันที่ 31 มีนาคม 2549 ที่วินิจฉัยให้ยกเว้นไม่ต้องประเมินภาษีป้ายในส่วนที่มีภาพเครื่องหมายกรมสรรพากรและข้อความเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากมิเตอร์หัวจ่าย และให้เรียกเก็บภาษีป้ายในส่วนที่มีข้อความ "ESSO" และป้ายราคาน้ำมันเพิ่มเติมจากโจทก์ และพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีป้ายครั้งที่สอง ฉบับลงวันที่ 31 มีนาคม 2549 ให้เรียกเก็บภาษีตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวแล้วก็ตาม แต่ตราบใดที่ยังไม่มีการยกเลิกการประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมินฉบับลงวันที่ 30 ธันวาคม 2548 จำนวน 4 ฉบับ ดังกล่าว ก็ต้องถือว่าโจทก์ยังมีความรับผิดในหนี้ค่าภาษีตามการประเมินในส่วนที่ไม่มีการยกเว้นตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์และไม่มีเหตุที่จะทำให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับลงวันที่ 31 มีนาคม 2549 ต้องเสียไป โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยดังกล่าวต่อศาลตามพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510 มาตรา 33

 ป้ายใหญ่ซึ่งติดตั้งด้านหน้าสถานีบริการน้ำมันในส่วนที่แสดงราคาน้ำมันเป็นป้ายที่แสดงประเภท ชนิด และราคาจำหน่ายปลีกน้ำมันซึ่งเป็นสินค้าควบคุม ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 55) เรื่อง กำหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย การออกใบกำกับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร และการเก็บรักษารายงานตามมาตรา 87/3 แห่งประมวลรัษฎากรข้อ 7 กับประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด ฉบับที่ 200 พ.ศ.2535 เรื่อง ให้ผู้จำหน่ายปลีกแสดงราคาจำหน่ายปลีกสินค้าควบคุม ลงวันที่ 10 กันยายน 2535 และฉบับที่ 249 พ.ศ.2541 ลงวันที่ 23 เมษายน 2541 จึงไม่ใช่ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อหรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ของโจทก์ตาม พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 มาตรา 6 โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีป้ายในส่วนนี้ แม้ในส่วนที่แสดงราคาน้ำมันจะอยู่ใต้ส่วนที่มีข้อความ "ESSO" และอยู่ในโครงสร้างเดียวกันก็ตาม แต่เมื่อป้ายในส่วนนี้ไม่ใช่ป้ายตาม พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 มาตรา 6 จึงไม่อาจนำไปคำนวณรวมกับป้ายในส่วนที่มีข้อความ "ESSO" เพื่อประเมินให้เสียภาษีป้ายได้อีก การประเมินให้เสียภาษีป้ายในป้ายราคาน้ำมันและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่วินิจฉัยให้เสียภาษีป้ายในป้ายราคาน้ำมันและเปลี่ยนแปลงขนาดป้ายจึงไม่ชอบ

 คำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ให้ยกเว้นไม่ต้องประเมินภาษีป้ายในส่วนของเครื่องหมายกรมสรรพากรและข้อความเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากมิเตอร์หัวจ่าย ทำให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดค่าภาษีตามการประเมินในส่วนนี้ แต่คำวินิจฉัยดังกล่าวไม่ได้คืนเงินในส่วนนี้ให้แก่โจทก์แต่กลับนำเงินในส่วนนี้ไปหักออกจากค่าภาษีที่เรียกเก็บเพิ่มเติมซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินในกรณีที่โจทก์ได้ชำระภาษีตามการประเมินภาษีในรายการป้ายใหญ่ซึ่งติดตั้งด้านหน้าสถานีบริการน้ำมันในส่วนที่มีภาพเครื่องหมายกรมสรรพากรและข้อความเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากมิเตอร์หัวจ่าย และป้ายราคาน้ำมันให้เสียภาษีป้ายรวม 4 ปีภาษี พร้อมดอกเบี้ยตามฟ้องโจทก์
*************************************
ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com 

ทนายเล่าเรื่อง ภาษีอากร สรรพากรตีความกับศาลตีความต่างกันอย่างไร

การซื้อขายและจ้างทำของต่างกันที่การซื้อขายมุ่งถึงการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ส่วนการจ้างทำของมุ่งถึงการงานที่ทำและผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญ ในเรื่องจ้างทำของตาม ป.พ.พ.มาตรา 592 จึงกำหนดหน้าที่ของผู้รับจ้างไว้อีกประการหนึ่งว่าผู้รับจ้างต้องยอมให้ผู้ว่าจ้างหรือตัวแทนของผู้ว่าจ้างตรวจตราการงานได้ตลอดเวลาที่ทำอยู่นั้น แต่บางกรณีผลสำเร็จของงานที่ทำอาจเป็นทรัพย์ สิ่งของ เช่นสินค้า และตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ว่าจ้างโดยวัตถุดิบหรือสัมภาระที่ใช้ในการทำเป็นของผู้รับจ้างก็ได้ การจ้างทำของในกรณีนี้จึงคล้ายคลึงกับการซื้อขาย การพิจารณาว่า กรณีใดเป็นการซื้อขายหรือจ้างทำของ จึงต้องดูจากเจตนาและพฤติการณ์ของคู่กรณีที่ประพฤติต่อกัน นอกจากนี้ยังจะต้องพิจารณาว่าสัมภาระ หรือวัสดุที่ใช้ทำเป็นสินค้ากับการงานที่รับทำจนสำเร็จนั้น สิ่งใดสำคัญกว่ากัน ถ้าการงานที่รับทำจนสำเร็จสำคัญกว่าสัมภาระก็เป็นจ้างทำของ ถ้าไม่สำคัญกว่าก็เป็นซื้อขาย กล่องกระดาษที่โจทก์ทำขึ้นมานั้น ใช้สำหรับบรรจุสินค้าต่าง ๆของลูกค้าของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบอุตสาหกรรม สิ่งที่ลูกค้าของโจทก์ต้องการคือคุณภาพของกล่องกระดาษซึ่งจะต้องมีความเหนียวทนทาน และรับน้ำหนักสินค้าที่บรรจุได้เป็นสำคัญ เพื่อมิให้สินค้าที่บรรจุอยู่ภายในเสียหาย แม้ขนาดของกล่องตรา และข้อความที่พิมพ์ลงบนกล่องจะแตกต่างกันออกไปตามความต้องการของลูกค้า แต่กล่องทุกใบก็มีเครื่องหมายการค้าของโจทก์ติดอยู่ ทั้งลูกค้าก็จะต้องสั่งซื้อกล่องกระดาษตามตัวอย่างที่โจทก์ทำส่งไปให้เลือก ขนาดของกล่องและข้อความดังกล่าวจึงเป็นเพียงส่วนประกอบเพื่อให้เหมาะสมแก่การบรรจุสินค้าต่าง ๆ ของลูกค้าเท่านั้น หามีความสำคัญไปกว่าวัสดุที่ใช้ในการผลิตกล่องกระดาษไม่ และหลังจากสั่งซื้อกล่องตามขนาด ชนิด และข้อความที่ต้องการแล้ว ลูกค้าของโจทก์ไม่มีอำนาจที่จะเข้าตรวจตราการทำงานของโจทก์ ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับลูกค้า จึงมิใช่อยู่ในฐานะของผู้รับจ้างกับผู้ว่าจ้าง แต่เป็นการประกอบการค้าโดยการทำกล่องกระดาษขายให้แก่ลูกค้าตามคุณภาพที่ลูกค้าต้องการ ในการทำกล่องกระดาษนั้น โจทก์จะนำกระดาษคราฟท์ป้อนเข้าเครื่องจักรแล้วเครื่องจักรก็จะทำงานตามขั้นตอนจนสำเร็จออกมาเป็นส่วนที่จะใช้เป็นกล่องซึ่งเป็นตัวสินค้า จึงเป็นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีขึ้นซึ่งสินค้า อันอยู่ในความหมายของคำว่า"ผลิต" ตามบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา 77 แห่งประมวลรัษฎากรและเมื่อผลิตออกมาเป็นกล่องแล้วก็จะส่งให้ลูกค้าตามที่สั่งโดยคิดราคาตามที่ตกลงกัน อันเป็นการขายตามความหมายที่ประมวลรัษฎากรกำหนดไว้ ดังนั้น การประกอบการค้ากล่องกระดาษของโจทก์จึงเป็นการประกอบการค้าประเภทการค้า 1 การขายของ ชนิด 1(ก) มิใช่เป็นการรับจ้างทำของอันจะต้องเสียภาษีตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภท 4 ชนิด 1(ฉ)

**************************************

13. คดีทรัพย์สินทางปัญญา

ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com

ทนายเล่าเรื่อง ทำการค้า การขาย อย่าลืมป้องกันคนลอก เลียนแบบครับ 

เครื่องหมายการค้าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่ง ไม่ใช่อสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ ไม่มีรูปร่าง ทั้งไม่อาจยึดถือครอบครองได้อย่างทรัพย์สินทั่วไปดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 ว่าด้วยทรัพย์สินการที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า PEAK และ PEAK กับรูปประดิษฐ์คล้ายภูเขาของผู้อื่นมาใช้กับสินค้าของตนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของแม้เป็นระยะเวลานานเพียงใด ก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าโจทก์ได้ บทบัญญัติว่าด้วยการได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 หาอาจนำมาใช้บังคับแก่สิทธิในเครื่องหมายการค้าอันเป็นทรัพย์สินทางปัญญาได้ไม่

 โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำละเมิดโดยนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปใช้กับสินค้าของจำเลยในลักษณะลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์เพียงแต่คาดคะเนว่าหากจำเลยกระทำการดังนั้น ผลเสียหายจะตกแก่โจทก์อย่างไร จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า จำเลยได้นำสินค้าของตนไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์หรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยได้นำเอาสินค้าของตนไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์ เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต เป็นการละเมิดต่อโจทก์ จึงเป็นพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในฟ้อง

 โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมัน คำว่า PEAK และ PEAKกับรูปประดิษฐ์คล้ายภูเขา แต่โจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศไทย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้เฉพาะในกรณีที่จำเลยได้นำสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์เพียงกรณีเดียวเท่านั้น
***************************************
ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com 

ทนายเล่าเรื่อง คดีทรัพย์สินทางปัญญา ถ้าอะไรไม่ถูกต้องศาลแก้ไขได้

ความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 27 (2) และมาตรา 28 (2) ต้องเป็นการเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโดยตรง การกระทำของจำเลยตามฟ้องโจทก์ที่ว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายทั้งสองโดยการนำแผ่นวิดีโอซีดีคาราโอเกะที่บันทึกเสียงเพลงและภาพงานเพลงซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายทั้งสองมาทำซ้ำ ถ่ายโอนข้อมูลบันทึกลงในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วนำออกขาย หรือมีไว้เพื่อขายแก่บุคคลทั่วไป อันเป็นการทำซ้ำดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนเพื่อการค้า โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหายทั้งสอง จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 27 (1) และมาตรา 28 (1) เท่านั้น ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
****************************************  
ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com

ทนายเล่าเรื่อง เรื่องนี้เป็นเรื่องทรัพย์สินทางปัญา ว่าการเผยแพร่นั้นต้องเพือการค้าหากำไร จึงจะผิดกฎหมาย

ความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ต้องเป็นการเผยแพร่งานนั้นต่อสาธารณชน "เพื่อหากำไร" ซึ่งหมายความว่า กำไรนั้นหากจำเลยได้มาหรือจะได้มาจะต้องเกิดจากการกระทำแก่งานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น แต่ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมานั้นได้ความว่า จำเลยประกอบกิจการค้าขายอาหารตามสั่งและเครื่องดื่มจำเลยเปิดแผ่นวีซีดีเพลง "กำลังใจที่เธอไม่รู้" อันเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ซึ่งได้มีผู้ทำขึ้นหรือดัดแปลงขึ้นให้ลูกค้าในร้านอาหารของจำเลยได้ฟัง ไม่ปรากฏว่าจำเลยเปิดเพลงดังกล่าวเพื่อหากำไรโดยตรงจากการที่ให้ลูกค้าได้ฟังเพลงโดยการเรียกเก็บค่าตอบแทนจากลูกค้าในการเปิดเพลงดังกล่าว หรือเรียกเก็บเพิ่มรวมไปกับค่าอาหารและเครื่องดื่มแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ประกอบมาตรา 70 วรรคสอง เพราะไม่ครบองค์ประกอบความผิดของบทมาตราดังกล่าวซึ่งต้องเป็นการกระทำเพื่อหากำไรโดยตรงจากการละเมิดลิขสิทธิ์ แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่งหว่างประเทศกลางพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 27 (2) และมาตรา 28 (2) ด้วยไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

*************************************
มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้คุณได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้คุณ.com

ทนายเล่าเรื่อง คดีทรัพย์สินทางปัญญา

โจทก์บรรยายฟ้องอ้างว่าผู้เสียหายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์งานที่นำภาพการ์ตูนโดราเอมอนมาดัดแปลงเป็นงานศิลปะ ใช้ประยุกต์กับวัสดุสิ่งของ เครื่องใช้ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มและนำมาใช้ในทางการค้าลักษณะงานตามฟ้องจึงเข้าลักษณะเป็นงานศิลปประยุกต์ กล่าวคือ เป็นงานที่นำเอางานภาพการ์ตูนไปใช้เพื่อประโยชน์อย่างอื่นนอกเหนือจากการชื่นชมในคุณค่าของตัวงานดังกล่าว โดยนำไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้าตามนิยามคำว่า "งานศิลปประยุกต์" ในมาตรา 4 แห่งพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ซึ่งมาตรา 22 บัญญัติไว้ว่าลิขสิทธิ์ในงานศิลปประยุกต์ให้มีอายุยี่สิบห้าปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก งานของผู้เสียหายมีการโฆษณางานเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2512 งานดังกล่าวจึงมีอายุการคุ้มครองอยู่ถึงเพียงวันที่ 1 ธันวาคม 2537 ขณะเกิดเหตุในคดีนี้ งานที่นำภาพตัวการ์ตูนโดราเอมอนมาดัดแปลงเป็นงานศิลปะ ใช้ประยุกต์กับวัสดุสิ่งของ เครื่องใช้ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มและนำมาใช้ประโยชน์ทางการค้าตามฟ้องจึงไม่มีลิขสิทธิ์อีกต่อไป
**************************************

14. คดีแรงงาน

อยู่กรุงเทพ ปรึกษาทนายกรุงเทพ โทร. 02 114 7521 เวปไซต์ www.ทนายกรุงเทพ.com

ทนายเล่าเรื่อง วันหยุดวันลา เมื่อไม่ได้ใช้ นายจ้างต้องจ่าย


 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 67 บัญญัติให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนเฉพาะกรณีที่ลูกจ้างมิได้มีความผิดตามมาตรา 119 การที่กฎหมายกำหนดให้นำความผิดตามมาตรา 119 มาประกอบการพิจารณาการได้ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีของลูกจ้าง เพราะความผิดดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่จะชี้ว่านายจ้างเลิกจ้างด้วยเจตนากลั่นแกล้งไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปจนครบ 1 ปีหรือไม่ ถ้าลูกจ้างไม่มีความผิดตามมาตรา 119 แต่ถูกเลิกจ้าง ถือว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควรและเป็นการกลั่นแกล้งลูกจ้าง ทำให้ลูกจ้างไม่อาจทำงานต่อไปได้และต้องเสียสิทธิที่จะได้หยุดพักผ่อนประจำปีตามมาตรา 30 ดังนั้น ในปีที่เลิกจ้างแม้ลูกจ้างจะทำงานยังไม่ครบ 1 ปี นายจ้างจะต้องชดใช้สิทธิที่ลูกจ้างต้องเสียไปจากการกระทำโดยไม่ชอบของนายจ้างด้วยการจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างตามส่วนของวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิ การจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างตามส่วนดังกล่าวจะพึงมีได้เฉพาะกรณีที่ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง และลูกจ้างไม่มีความผิดตามมาตรา 119เท่านั้น หาได้นำมาใช้บังคับแก่กรณีลูกจ้างลาออกจากงานโดยความสมัครใจด้วยไม่ เพราะการลาออกโดยความสมัครใจของลูกจ้างย่อมไม่เป็นการกลั่นแกล้งของนายจ้าง นายจ้างจึงไม่ต้องชดใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีที่ลูกจ้างต้องเสียไปจากการลาออกโดยการจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่ลาออกตามส่วนตามมาตรา 67

 ลูกจ้างที่ลาออกจะมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างรวมทั้งในปีก่อนและจะได้ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีหรือไม่เพียงใด ต้องเป็นไปตามมาตรา 30 และมาตรา 56 ในปีที่ จ. ลาออก โจทก์ในฐานะนายจ้างกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้าง 13 วัน และก่อนลาออกโจทก์อนุญาตให้ จ. ลาหยุดพักผ่อนประจำปี 8 วัน การหยุดพักผ่อนประจำปีดังกล่าว เป็นการหยุดตามที่โจทก์และ จ. ตกลงกันโดยสุจริต จึงเป็นวันหยุดพักผ่อนประจำปีโดยชอบของลูกจ้าง แต่ถ้าขณะลาออก จ. ยังไม่ได้หยุดพักผ่อนประจำปีหรือหยุดแล้วแต่ยังไม่ครบ 13 วัน ซึ่งเป็นกรณีนายจ้างกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีทั้ง 13 วันหรือบางส่วนไว้ล่วงหน้าและเป็นวันหลังจากที่ จ. ลาออก จ. ก็จะไม่ได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและไม่มีสิทธิให้นายจ้างนำวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังไม่ได้หยุดมาเฉลี่ยเพื่อจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่ลาออกได้ แต่เมื่อ จ. หยุดพักผ่อนประจำปีตามสิทธิและตามวันที่ได้ตกลงกับโจทก์ไปแล้วก่อนลาออก โจทก์ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเต็มจำนวน 8 วันให้แก่ จ.
****************************************
มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้คุณได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้คุณ.com

ทนายเล่าเรื่อง เป็นผู้คำ้ประกันควรศึกษาหาความรู้ไว้ เวลาถูกฟ้องจะได้รีบดำเนินการครับ

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 696 วรรคหนึ่งผู้ค้ำประกันจะสิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ลูกหนี้ก็ต่อเมื่อได้ชำระหนี้แทนลูกหนี้ไปโดยมิได้บอกลูกหนี้และลูกหนี้ได้ชำระหนี้ซ้ำอีกเพียงกรณีเดียวเท่านั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน ป. ชำระหนี้จำนวน 390,000 บาท ให้แก่บริษัท ธ. เจ้าหนี้ของ ป. ไปแล้ว คงเหลือยังไม่ได้ชำระอยู่อีกจำนวน 43,441.43 บาท หนี้จำนวนที่ยังไม่ได้ชำระนี้ต่อมาจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ป. ซึ่งถึงแก่กรรมในเวลาต่อมาถูกฟ้องและได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความชดใช้ให้แก่ บริษัท ธ. โดยไม่ได้ซ้ำกับยอดหนี้ส่วนที่โจทก์ได้ชำระแทนไปแล้ว ดังนั้นแม้โจทก์จะไม่ได้บอกแก่จำเลยว่าโจทก์ ได้ชำระหนี้แทน ป. ให้จำเลยทราบก็ตามก็ชอบที่จะรับช่วงสิทธิฟ้องไล่เบี้ยเงินจำนวน 390,000 บาทเอาแก่จำเลยได้ สิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีต่อจำเลยซึ่งเป็นทายาทของป. เกิดจากการที่โจทก์ได้ชำระหนี้เงินกู้ที่ ป.เจ้ามรดกมีอยู่ต่อบริษัท ธ. ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันหนี้ดังกล่าว โจทก์จึงเป็นผู้รับช่วงสิทธิที่ฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยได้ สิทธิไล่เบี้ยของโจทก์เพิ่งมีขึ้นในวันที่โจทก์ได้ชำระหนี้ไปอันเป็นเวลาหลังจากที่เจ้ามรดกตาย เนื่องจากไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยเรื่องอายุความแห่งการรับช่วงสิทธิไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามมาตรา 164 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์คืออายุความสิบปี จะนำอายุความหนึ่งปีตามมาตรา 1754 วรรคสาม ซึ่งเป็นอายุความสิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้มีต่อเจ้ามรดก มาใช้ไม่ได้
***************************************
ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com

ทนายเล่าเรื่อง กฎหมายแรงงานเรื่องนายจ้างลูกจ้าง นายจ้างจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อตกลง ระเบียบ ข้อบังคับใหม่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง และข้อตกลงต้องเป็นคุณกับลูกจ้างด้วย

ศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยว่า จำเลยออกคำสั่งที่ 6/2525ยกเลิกคำสั่งที่ 63/2517 โดยโจทก์มิได้ตกลงยินยอมด้วย จำเลยอุทธรณ์ว่า ตามพฤติกรรมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้ความยินยอมด้วยในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างดังกล่าวแล้ว เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานของศาลแรงงานกลางเป็นปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 จำเลยออกคำสั่งที่ 6/2525 ยกเลิกคำสั่งที่ 63/2517 โดยมิได้ยื่นข้อเรียกร้องและไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ และข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่แก้ไขใหม่ ไม่เป็นคุณแก่โจทก์ จึงเป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 20คำสั่งที่ 6/2525 ไม่มีผลบังคับแก่โจทก์ ต้องบังคับตามคำสั่งที่ 63/2517.
**************************************
ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com

ทนายเล่าเรื่อง ใครต้องร่วมรับผิดในคดีแรงงานบ้าง

โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 12 ที่ 14 ถึงที่ 35 และที่ 37 ถึงที่ 42 เป็นลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ทำงานเป็นพนักงานขับรถและพนักงานคลังสินค้าซึ่งเป็นธุรกิจในความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 ในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงของจำเลยที่ 1 กรณีจึงอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 11/1 วรรคสอง ที่บัญญัติให้ผู้ประกอบกิจการดำเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ทำงานในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ หมายความว่าผู้ประกอบกิจการต้องดำเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่ถูกต้องตามระเบียบแบบแผนของผู้ประกอบกิจการโดยไม่เลือกว่าเป็นลูกจ้างรับเหมาค่าแรงหรือลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง อันเป็นการกำหนดหน้าที่ให้ผู้ประกอบกิจการต้องดำเนินการให้สิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงได้รับตามมาตรา 11/1 วรรคสอง จึงเป็นสิทธิตามที่ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 บัญญัติไว้โดยตรง ผู้ประกอบกิจการก็ต้องดำเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ทำงานในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงนั้นได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการเช่นเดียวกัน และการกำหนดวันเวลาทำงานอันมีผลกระทบต่อการได้รับเงินค่าตอบแทนถือเป็นสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกอบกิจการจะเลือกปฏิบัติไม่ได้ ดังนั้นจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการจึงต้องดำเนินการให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 12 ที่ 14 ถึงที่ 35 และที่ 37 ถึงที่ 42 ซึ่งเป็นลูกจ้างรับเหมาค่าแรงได้รับสิทธิประโยชน์ในเงินค่าตอบแทนดังกล่าวให้ถูกต้องตามที่จำเลยที่ 1 จัดให้แก่ลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงของจำเลยที่ 1 โดยต้องดำเนินการให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 12 ที่ 14 ถึงที่ 35 และที่ 37 ถึงที่ 42 ได้รับในส่วนที่จำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายจ้างโดยตรงไม่จัดให้หรือจัดให้น้อยกว่าลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงของจำเลยที่ 1 โดยใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับที่จำเลยที่ 1 จัดให้แก่ลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงของจำเลยที่ 1 ซึ่งหากจำเลยที่ 1 มีหลักเกณฑ์การกำหนดวันเวลาทำงานและการจ่ายเงินค่าตอบแทนให้ลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงอย่างไรก็ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของจำเลยที่ 1 เช่นเดียวกัน 

 สำหรับเงินโบนัสนั้น แม้เป็นสิทธิประโยชน์และสวัสดิการ แต่จำเลยทั้งสองจ่ายเงินโบนัสให้แก่ลูกจ้างตามการประเมินผลงานซึ่งมีการแบ่งเกรด เอ บี ซี และดี และขึ้นอยู่กับผลประกอบการของกิจการ ถือเป็นการวางหลักเกณฑ์การจ่ายเงินโบนัสที่เหมือนกัน ส่วนที่ปรากฏว่าในปี 2553 จำเลยที่ 1 จ่ายเงินโบนัสให้แก่ลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงมากกว่าที่ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้รับจากจำเลยที่ 2 แต่ในปี 2554 จำเลยที่ 1 ก็จ่ายเงินโบนัสให้แก่ลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงต่ำกว่าที่ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้รับจากจำเลยที่ 2 จึงหาใช่ว่าลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้รับเงินโบนัสประจำปีในอัตราที่ต่ำกว่าลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงทุกปีไม่ แต่เป็นการได้รับตามหลักเกณฑ์การจ่ายที่จำเลยทั้งสองกำหนดไว้เหมือนกันโดยดูจากผลงานของลูกจ้างและจากฐานผลประกอบการของแต่ละบริษัท ดังนั้นที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 12 ที่ 14 ถึง ที่ 35 และที่ 37 ถึงที่ 42 ได้รับเงินโบนัสประจำปีในช่วงดังกล่าวตามหลักเกณฑ์การจ่ายเงินโบนัสประจำปีที่เหมือนกันจากจำเลยที่ 2 ถือเป็นการได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ

 มาตรา 11/1 วรรคสอง บัญญัติให้เฉพาะผู้ประกอบกิจการเท่านั้นที่ต้องดำเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ ดังนั้น เฉพาะจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการเท่านั้นที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรา 11/1 วรรคสอง จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างโดยตรงของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 12 ที่ 14 ถึงที่ 35 และที่ 37 ถึงที่ 42 และเป็นผู้ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 ให้จัดหาโจทก์ดังกล่าวมาทำงานในธุรกิจในความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 ไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย
**************************************
ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com

ทนายเล่าเรื่อง ฟ้องเรียกค่าจ้าง ฟังผลคดีอาญา

จำเลยมีคำสั่งพักงานโจทก์เพื่อรอฟังผลที่โจทก์ถูกดำเนินคดีอาญาเมื่อผลคดีอาญาศาลพิพากษาว่าโจทก์ไม่มีความผิด จำเลยกลับมาอ้างเหตุว่าพฤติการณ์ของโจทก์ส่อไปในทางทุจริตแล้วบอกเลิกจ้างโจทก์ให้มีผลย้อนหลังไปจนถึงวันที่จำเลยสั่งพักงานโจทก์เช่นนี้ เป็นการขัดกับคำสั่งพักงานเดิม และขัดกับคำพิพากษาในคดีอาญา จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ ในระหว่างช่วงเวลาที่จำเลยสั่งให้โจทก์พักงานนั้นโจทก์ยังเป็นลูกจ้างจำเลยอยู่ สภาพการเป็นลูกจ้างและนายจ้างยังคงมีอยู่ต่อไป การที่โจทก์ไม่ได้ทำงานให้แก่จำเลยก็เนื่องมาจากคำสั่งของจำเลยเอง และไม่มีระเบียบว่าจำเลยไม่ต้องจ่ายค่าจ้างจึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ เงินเดือนของโจทก์เป็นค่าจ้างที่คนงานเรียกเอาจากนายจ้างจึงมีอายุความ 2 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(9).

***************************************

15. คดีครอบครัว

ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com

ทนายเล่าเรื่อง สัญญากู้ยืมทั่วไปฟ้องได้ภายใน 10 ปี แต่ถ้าการคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยเป็นงวดๆ ต้องฟ้องภายใน 5 ปี นับแต่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้

โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กู้เงินบริษัท ก. โดยตกลงผ่อนชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยรายเดือนรวม 144 งวด เริ่มชำระงวดแรกวันที่ 22 เมษายน 2538 และชำระงวดถัดไปทุกวันที่ 22 ของทุกเดือน หากผิดนัดไม่ชำระหนี้งวดใด ยอมให้บริษัท ก. เรียกหนี้ตามสัญญาทั้งหมดคืนได้ทันที ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ในสัญญากู้ โดยจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ครั้งสุดท้ายวันที่ 5 กรกฎาคม 2538 เป็นการฟ้องขอให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ซึ่งมีข้อตกลงชำระหนี้ผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (2) สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในหนี้ดังกล่าวจึงมีกำหนดอายุความห้าปี นับแต่วันผิดนัดชำระหนี้คือตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2538 เป็นต้นไป เมื่อจำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ เนื่องจากนำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนดห้าปี นับแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 2538 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องของตนได้ การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 13 มิถุนายน 2544 คดีโจทก์จึงขาดอายุความแล้ว

*************************************
ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com

ทนายเล่าเรื่อง เงินที่วางมัดจำ เงินดาวน์ ขอเงินคืนได้หรือไม่เมื่อสัญญาเลิกกัน

แม้โจทก์จะได้วางเงินจำนวน 55,000 บาท ในวันทำสัญญาจะซื้อจะขายอาคารพร้อมที่ดินก็ตาม แต่เงินจำนวนดังกล่าวนี้ก็มิได้หมายความว่าจะเป็นเงินมัดจำไปเสียทั้งหมด ต้องขึ้นอยู่กับเจตนาของคู่กรณีเป็นสำคัญ เมื่อเจตนาของโจทก์และจำเลยปรากฏชัดแจ้งอยู่ในสัญญาแล้วว่าให้ถือเป็นเงินดาวน์ จึงต้องถือว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดินพร้อมทาวน์เฮ้าส์ ส่วนเงินดาวน์ที่โจทก์ผ่อนชำระไปแล้วอีก 10 งวดจำนวน 87,000 บาท นั้น ยิ่งเห็นได้ชัดว่าไม่ใช่เงินมัดจำ เพราะเป็นเงินที่ผ่อนชำระกันหลังจากทำสัญญาจะซื้อจะขายอาคารพร้อมที่ดินแล้ว ดังนั้น เมื่อโจทก์ผิดสัญญาจำเลยจะริบเงินเหล่านี้โดยอ้างว่าเป็นเงินมัดจำที่อาจริบตามกฎหมายไม่ได้

 สัญญาจะซื้อจะขายข้อ 9 ระบุว่าหากโจทก์ซึ่งเป็นผู้จะซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินตามที่ระบุในสัญญา ให้ถือว่าโจทก์ผิดสัญญาและยินยอมให้จำเลยริบเงินที่ชำระไว้แล้วทั้งหมด กับให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันยกเลิกกันทันทีโดยมิต้องบอกกล่าว ดังนั้น เมื่อโจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ผลคือสัญญาเลิกกัน เงินที่โจทก์ส่งมอบแก่จำเลยดังกล่าวเพื่อชำระหนี้บางส่วนย่อมกลับเป็นเงินอันจะต้องใช้คืนเพื่อให้คู่สัญญากลับสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 แม้เมื่อโจทก์จำเลยตกลงกันให้ริบโดยไม่ต้องใช้คืนเพื่อกลับสู่ฐานะเดิมข้อตกลงให้ริบดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นจำนวนเงินตามมาตรา 379 และเบี้ยปรับนี้ถ้าสูงเกินส่วน ศาลก็มีอำนาจที่จะลดลงให้เหลือเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ ส่วนที่ตกลงกันไว้ในตอนท้ายของสัญญาข้อ 9 อีกว่า หากโจทก์ผู้จะซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินตามสัญญาอีกยอมชำระค่าปรับให้แก่จำเลยผู้จะขายต่างหากเป็นเงินครั้งละ 10,000บาท ก็เป็นเบี้ยปรับเช่นกัน แต่ที่กำหนดไว้ในสัญญาให้เรียกได้อีกนั้นเป็นการซ้ำซ้อน จึงไม่กำหนดเบี้ยปรับให้แก่จำเลยอีก
*************************************
มีปัญหาคดีครอบครัว ปรึกษาทนายจอย 099 152 4195

ทนายเล่าเรื่อง สินส่วนตัว ฟ้องขับไล่ 

โจทก์ใช้เงินสินส่วนตัวของโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นบ้านเล็กๆ มีแต่หลังคาแต่ไม่มีฝาบ้านมาในระหว่างสมรส และใช้เงินสินส่วนตัวของโจทก์ในการก่อสร้างบ้าน โรงจอดรถ คอกวัว และศาลาริมน้ำในที่ดินพิพาทของโจทก์ แม้เป็นการก่อสร้างในระหว่างที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันก็จะถือว่าบ้านพิพาทเป็นทรัพย์สินที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้มาระหว่างสมรสหาได้ไม่ บ้านพิพาทย่อมเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1472 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากบ้านพิพาทและเรียกค่าเสียหายได้
***************************************
ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com

ทนายเล่าเรื่อง ยักย้าย ยักย้ายถ่ายโอนทรัพย์สิน ไม่ให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ ฟ้องแพ่งและอาญาได้

เดิมโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม จำเลยขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง กับห้องชุดในอาคารชุดให้ ศ. เพื่อมิให้โจทก์บังคับชำระหนี้เอาทรัพย์สินดังกล่าว โจทก์จึงฟ้องจำเลยกับ ศ. เป็นคดีอาญาในข้อหาโกงเจ้าหนี้ กับฟ้องคดีแพ่งขอเพิกถอนการฉ้อฉล คดีทั้งสองเรื่องถึงที่สุดแล้ว โจทก์ขอให้เจ้าพนักงานที่ดินออกใบแทนโฉนดที่ดินและนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินข้างต้นขายทอดตลาดชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมครบถ้วนแล้ว 

    โจทก์ฟ้องจำเลยให้ชดใช้ค่าเสียหายในมูลหนี้ละเมิดอันเกิดจากการที่จำเลยทำนิติกรรมโอนทรัพย์สินให้แก่ ศ. ค่าเสียหายที่โจทก์มีสิทธิเรียกจากจำเลยผู้ทำละเมิดได้ตามกฎหมายเป็นความเสียหาย ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 420 เท่านั้น โดยเฉพาะความเสียหายต่อสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง หมายถึง สิทธิที่กฎหมายรับรองคุ้มครองให้ผู้ถูกทำให้เกิดเสียหายและจำเลยจะต้องทำให้สิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดที่โจทก์มีอยู่เสียหายไป การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ แสดงว่าโจทก์มีความประสงค์ต้องการให้จำเลยได้รับโทษทางอาญา ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีอาญาและค่าจ้างว่าความของทนายความที่โจทก์จ่ายไป เกิดจากการใช้สิทธิของโจทก์ตามกฎหมาย จึงเป็นความเสียหายจากการใช้สิทธิ ไม่ใช่ความเสียหายที่เกิดจากการกระทำละเมิดให้โจทก์เสียสิทธิหรือทำให้สิทธิของโจทก์ที่กฎหมายรับรองว่ามีอยู่เสียหายไป ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนในเหตุละเมิดตามกฎหมายได้ ถือไม่ได้ว่าเป็นความเสียหายที่เกิดจากการทำละเมิดโดยตรง

    ส่วนการที่โจทก์จำต้องฟ้องคดีแพ่งเนื่องจากการกระทำของจำเลยเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตจงใจทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่อสู้คดีปกป้องสิทธิอันชอบธรรมของตนจากการกระทำอันไม่สุจริตของจำเลย จึงเป็นความเสียหายที่เป็นผลโดยตรงจากการทำละเมิดของจำเลย จำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหายเป็นค่าใช้จ่ายและค่าทนายความในการดำเนินคดีแพ่งแก่โจทก์ ตามตาราง 6 และตาราง 7 ท้าย ป.วิ.พ.

    ส่วนการขอออกใบแทนโฉนดที่ดินและจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมการโอนทรัพย์สินระหว่างจำเลยกับ ศ. นั้น การที่โจทก์ต้องทำเช่นนั้นจึงเป็นความเสียหายที่เป็นผลต่อเนื่องโดยตรงจากการทำละเมิดของจำเลย จำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหายเป็นค่าใช้จ่ายในการขอออกใบแทนโฉนดที่ดินและจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมการโอนทรัพย์สินแก่โจทก์เช่นกัน

   ส่วนค่าเสียหายเป็นกำไรที่โจทก์ควรจะได้จากการนำเงินที่ได้จากการบังคับชำระหนี้ไปลงทุนนั้น เป็นค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาอยู่นอกเหนือเจตนาของจำเลย ถือว่าเป็นค่าเสียหายที่ไกลเกินกว่าเหตุ จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

*************************************
มีปัญหาปรึกษาเรื่องครอบครัว ปรึกษาทนายคดีครอบครัว ทนายจอย 099 152 4195 ค้นหาทนายคดีครอบครัวได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายคดีครอบครัว.com

ทนายเล่าเรื่อง ส่งมอบบุตร

ในระหว่างพิจารณา ศาลสั่งยกคำร้องในเรื่องข้อตัดฟ้องของจำเลย ๆแถลงว่า ยังติดใจคัดค้านและขอสงวนสิทธิเพื่ออุทธรณ์ แล้วจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาล ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ จำเลยยื่นคำแถลงว่าพอใจคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของศาลแล้วจึงขอค่าธรรมเนียมคืน ดังนี้ เป็นเรื่องที่จำเลยพอใจในการสั่งของศาล ไม่ใช่พอใจที่จะไม่อุทธรณ์ เมื่อศาลพิพากษาคดีแล้ว จำเลยย่อมอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งนั้นได้ เพราะจำเลยได้โต้แย้งคำสั่งไว้ตาม ป.ม.วิ.แพ่ง มาตรา 226(2) แล้ว

เมื่อความปรากฎว่าจำเลยเป็นผู้เยาว์ ตาม ป.ม.วิ.แพ่ง มาตรา 1(12) กรณีก็ต้องตามมาตรา 56 การที่ผู้แทนโดยชอบธรรมจะให้อนุญาตหรือยินยอมแต่ผู้เยาว์ ที่จะดำเนินคดีหรือไม่เป็นอำนาจของผู้แทนโดยชอบธรรม ศาลไม่มีอำนาจบังคับผู้แทนโดยชอบธรรมให้ดำเนินคดีแทนผู้เยาว์

การหมายเรียกตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 57(3) เป็นการหมายเรียกให้เข้ามาเป็นคู่ความ ถ้าผู้แทนโดยชอบธรรมไม่ให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการดำเนินคดี หรือไม่เข้าดำเนินคดีแทนผู้เยาว์ตามที่ควรศาลจะตั้งผู้แทนฉะเพาะคดีให้ตามมาตรา 56 วรรคท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งก็ไม่ได้ เพราะเป็นบทบัญญัติฉะเพาะแต่ในกรณีไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้แทนโดยชอบธรรมทำหน้าที่ไม่ได้ แต่ถ้าในกรณีที่บิดาเป็นผู้ปกครองและไม่ยอมให้คำยินยอมเช่นนี้ ผู้เยาว์อาจขอต่อศาลให้รอคดีไว้หรือศาลสั่งรอไว้เองก็ได้ โดยให้ผู้เยาว์ไปหาญาติสนิท ดำเนินการตามมาตรา 1552 ป.ม.แพ่ง ฯ ถอนอำนาจบิดาในส่วนนี้ฐานใช้อำนาจปกครองโดยมิชอบเสียก่อนได้

ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 56 ไม่ได้ห้ามไม่ให้ฟ้องผู้เยาว์ เป็นแต่ว่าถ้าถูกฟ้อง ผู้เยาว์จะดำเนินคดีไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้แทนโดยชอบธรรม เข้าดำเนินคดีแทนเสียทีเดียว ถ้าผู้แทนโดยชอบธรรมไม่ระวังผลประโยชน์ของผู้เยาว์ ก็ไม่ใช่ความผิดของโจทก์ จะบังคับโจทก์ไม่ได้ ศาลจึงชอบที่จะคอยระวังผลประโยชน์ของผู้เยาว์ให้ตามสมควร เพื่อรักษาประโยชน์ของผู้เยาว์ศาลอาจจะแจ้งไปยังพนักงานอัยยการเพื่อพิจารณาและดำเนินการตามมาตรา 1552 นี้ก็ได้เมื่อมีการถอนอำนาจแล้ว ก็เป็นหน้าที่ที่จะใช้มาตรา 56 วรรคท้ายได้ แต่ศาลจะหมายเรียกผู้แทนโดยชอบธรรม ให้เข้ามาแก้คดีแทนผู้เยาว์นั้นหามีกฎหมายสนับสนุนไม่

การบังคับคดีเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้น การที่ขอให้ศาลอุทธรณ์ทุเลาการบังคับไว้ในระหว่างอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ไม่ให้ทุเลา ก็หมายความว่าไม่ให้ถือเอาการอุทธรณ์เป็นการทุเลาการบังคับ แม้จะมีการอุทธรณ์ ก็ให้ศาลล่างดำเนินการบังคับคดีต่อไป ตามอำนาจที่ศาลชั้นต้นมีอยู่ในเรื่องการบังคับคดี ไม่ใช่ว่าถ้าศาลอุทธรณ์ไม่ให้ทุเลาแล้ว ก็เป็นการบังคับศาลชั้นต้นให้บังคับคดีโดยตัดอำนาจที่ศาลชั้นต้นมีอยู่ในเรื่องบังคับคดีเสียเลย

โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยส่งบุตรสาวโจทก์อายุ 18 ปี ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาบุตรสาวโจทก์บรรลุนิติภาวะแล้ว ศาลฎีกาชอบที่จะจำหน่ายคดีเสียแม้กรณีไม่ต้องด้วย ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 132 ศาลฎีกาก็ยังจำหน่ายคดีได้

ถ้าหากไม่มีประโยชน์ที่ศาลจะชี้ขาดแล้วเช่นคดีนี้ แต่คดีนี้ศาลล่างดำเนินการพิจารณามาสับสน จะเพียงแต่จำหน่ายคดี โดยให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คงไว้ หาชอบไม่ ทั้งจะให้ศาลล่างพิจารณาใหม่ก็ไม่ได้ เพราะบุตรสาวโจทก์ที่ฟ้องเรียกคืนบรรลุนิติภาวะแล้ว เช่นนี้ ศาลฎีกาจึงพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่าง และให้จำหน่ายคดีเสีย.
**************************************
มีปัญหาปรึกษาเรื่องครอบครัว ปรึกษาทนายคดีครอบครัว 

ทนายจอย 099 152 4195 ค้นหาทนายคดีครอบครัวได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายคดีครอบครัว.com

ทนายเล่าเรื่อง ฆ่าผู้อื่นผิดกฎหมาย มีโทษแต่ฆ่าชายชู้ ผิดกฎหมาย แต่กฎหมายไม่เอาโทษ

ชายพบภริยาของตนกำลังร่วมประเวณีทำชู้กับชายอื่นจึงฆ่าภริยาและชายชู้ตายทั้งสองคนนั้นทันทีเช่นนี้ ถือว่าเป็นการป้องกันเกียรติยศและชื่อเสียง พอสมควรแก่เหตุ ไม่มีโทษ
***************************************
ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com 

ทนายเล่าเรื่อง ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาแบ่งกันอย่างไร

ฉ. อยู่กินฉันสามีภริยากับ ช. โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสและได้ร่วมกันทำมาหากินโดยการปล่อยเงินกู้ ซื้อขายที่ดินและเป็นนายหน้าขายที่ดิน เงินในบัญชีเงินฝากประจำเป็นทรัพย์สินที่ ช. และ ฉ. ทำมาหาได้ร่วมกันในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา ช. และ ฉ. จึงต่างมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันในเงินดังกล่าวและต้องแบ่งให้คนละเท่า ๆ กัน โดยเป็นทรัพย์มรดกของ ช. กึ่งหนึ่ง และเป็นทรัพย์มรดกของฉ. กึ่งหนึ่ง

 การที่ ฉ. ฝากเงินประจำไว้แก่ธนาคารจำเลยที่ 2 เงินที่ฝากประจำย่อมตกเป็นของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 คงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ฝากประจำให้ครบจำนวนเมื่อถึงกำหนดแก่ ฉ.

 ฉ. มีเจตนาเงินในบัญชีเงินฝากประจำให้แก่จำเลยที่ 1 และทำหนังสือถึงผู้จัดการจำเลยที่ 2 ให้เพิ่มชื่อจำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากได้แทนการถอนเงินออกมาฝากในนามจำเลยที่ 1 เนื่องจากเงินที่ฝากประจำยังไม่ครบกำหนด หากถอนเงินในขณะนั้นจะไม่ได้ดอกเบี้ย ถือได้ว่า ฉ. มีเจตนาโอนสิทธิเรียกร้องของฉ. ที่ฝากเงินไว้แก่จำเลยที่ 2 ให้แก่จำเลยที่ 1 ในลักษณะการโอนหนี้อันจะพึงชำระแก่เจ้าหนี้โดยเฉพาะเจาะจง เมื่อได้มีการปฏิบัติถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคหนึ่ง โดย ฉ. ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อและบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องการโอนสิทธิเรียกร้องในเงินฝากประจำของ ฉ. ให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นอันสมบูรณ์สิทธิที่จะได้รับชำระหนี้เงินฝากประจำจึงตกเป็นของจำเลยที่ 1 กรณีไม่ใช่เป็นเพียงมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากแทน ฉ. เท่านั้น
**************************************
ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com

ทนายเล่าเรื่อง ข่มขืนศพไม่ผิด แต่ข่มขืนบุคคลอื่นมีความผิดตามกฎหมายครับ

คำให้การของจำเลยในชั้นสอบสวนที่รับสารภาพว่าเป็นผู้ฆ่าและข่มขืนกระทำชำเราผู้ตาย ถือว่าเป็นพยานหลักฐานที่ใช้ยันจำเลยเพื่อพิสูจน์การกระทำผิดของจำเลยในชั้นพิจารณาของศาลได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134

 จำเลยให้การรับสารภาพแล้วยังนำพนักงานสอบสวนไปชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพของจำเลยและให้ถ่ายรูปไว้ด้วย โดยจำเลยมิได้นำพยานหลักฐานเข้าสืบหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ให้เห็นเป็นอย่างอื่น และจากการตรวจกางเกงชั้นในของจำเลยที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดมาจากจำเลยที่นุ่งอยู่ในวันถูกจับกุมส่งไปตรวจหารหัสพันธุ์กรรม(ดีเอ็นเอ)ได้ความว่าได้รหัสพันธุ์กรรมตรงกับคราบเลือดของผู้ตาย น่าเชื่อว่าคราบเลือดที่ติดอยู่กับกางเกงชั้นในของจำเลยเป็นของผู้ตาย พฤติการณ์ตามพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบประกอบคำรับสารภาพของจำเลยมีน้ำหนักพอที่ทำให้ศาลเชื่อได้ว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่งแล้ว

 เมื่อผู้ตายได้ตายไปแล้วแต่จำเลยคิดว่าผู้ตายสลบไป จึงข่มขืนกระทำชำเราผู้ตายจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราผู้ตาย เพราะผู้ตายได้ถึงแก่ความตายไปก่อนแล้ว ไม่มีสภาพเป็นบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 15
**************************************

16. คดีอาญา

ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com

ทนายเล่าเรื่อง เจตนาต้องเกิดก่อนการกระทำผิดเท่านั้น

ผู้เสียหายส่งธนบัตรฉบับละ100บาทให้แก่จำเลยเพื่อชำระหนี้ค่าโดยสารรถเป็นเงิน5บาทถือว่าผู้เสียหายมอบการครอบครองธนบัตรดังกล่าวให้แก่จำเลยการที่จำเลยไม่ได้ทอนเงินให้ทันทีหรือแม้ไม่มีเจตนาจะทอนเงินให้โดยจะเอาเงินที่เหลือจำนวน95บาทเป็นประโยชน์ของตนโดยทุจริตก็ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์เพราะเจตนาทุจริตเกิดขึ้นภายหลังที่ธนบัตรอยู่ในความครอบครองของจำเลยแล้ว
************************************
ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com


ทนายเล่าเรื่อง อวัยวะสำคัญหรือไม่ต้องสืบให้ศาลเห็น


คำว่า อวัยวะอื่นใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(3)หมายถึง อวัยวะส่วนสำคัญ เช่น แขน ขา มือ เท้า นิ้วดังระบุไว้ในตอนต้น

 ฟันทั้งหมดในปากรวมกันก็เป็นอวัยวะส่วนสำคัญ ถ้าฟันหักไปหลายซี่ เป็นเหตุให้ส่วนที่เหลืออยู่ใช้การไม่ได้ตามสภาพของฟัน เช่นเคี้ยวอาหารไม่ได้ไปแถบหนึ่งก็ถือได้ว่าเป็นการเสียอวัยวะส่วนสำคัญอันเป็นอันตรายสาหัสเพียงแต่ได้ความว่าฟันแท้บนด้านหน้าหักไป 3 ซี่จะถือว่าเป็นการเสียอวัยวะส่วนสำคัญยังมิได้เว้นแต่โจทก์จะนำสืบให้เห็นว่าเมื่อถูกทำร้ายแล้วผู้เสียหายใช้ฟันที่เหลืออยู่เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามนัยที่กล่าวข้างต้น (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 22/2508)
**************************************
มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้คุณได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้คุณ.com

ทนายเล่าเรื่อง คำนิยาม “เคหสถาน” หมายความอย่างไร

ป.อ. มาตรา 1 (4) "เคหสถาน" หมายความว่า ที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัย เช่น เรือน โรง เรือ หรือแพ ซึ่งคนอยู่อาศัยและให้หมายรวมถึงบริเวณของที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัย จะมีรั้วล้อมหรือไม่ก็ตาม บ้านของผู้เสียหายไม่มีรั้วล้อม กับบริเวณหลังบ้านผู้เสียหายอยู่ติดกับถนนส่วนบุคคล กรณีจะถือเอาเพียงฝาผนังและประตูเหล็กด้านหลังเป็นแนวของเคหสถานย่อมจะไม่ได้ เพราะเคหสถานตามกฎหมายให้หมายความรวมถึง บริเวณของที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยนั้นด้วย ผู้เสียหายใช้ประโยชน์บริเวณรอบบ้านเป็นที่วางสิ่งของกับมีหลังคาบ้านยื่นออกมาคลุม การที่จำเลยทั้งสองไปอยู่บริเวณประตูหลังบ้านผู้เสียหาย ย่อมถือว่าเป็นการเข้าไปในเคหสถานของผู้เสียหายแล้ว จำเลยทั้งสองเข้าไปในขณะที่ผู้เสียหายไม่อยู่บ้าน ทั้งผู้เสียหายกับจำเลยทั้งสองมีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อน จึงยิ่งไม่มีเหตุสมควรที่จะเข้าไปอยู่บริเวณประตูหลังบ้านผู้เสียหาย พฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานบุกรุกเข้าไปในเคหสถานของผู้อื่นโดยไม่มีเหตุอันสมควร
****************************************
ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com

ทนายเล่าเรื่อง ลักทรัพย์ทั่วไป หรือลักทรัพย์นายจ้าง ใช้ยานพาหนะในการหลบหนี โทษหนักขึ้น

ความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา335(11)วรรคแรกนั้นขึ้นอยู่กับตัวทรัพย์ลักว่าเป็นของนายจ้างหรืออยู่ในความครอบครองของนายจ้างหรือไม่หาได้จำกัดว่าต้องเป็นการลักทรัพย์ที่นายจ้างมอบหมายให้ลูกจ้างครอบครองดูแลรับผิดชอบเท่านั้นไม่ดังนั้นแม้จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างจะไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับทรัพย์ของกลางที่จำเลยลักไปรวมทั้งทรัพย์สินใดๆในคลังสินค้าของผู้เสียหายซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยการกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา335(11)วรรคแรก การที่จะถือว่าผู้ใดกระทำความผิดฐานลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะซึ่งจะต้องรับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา336ทวินั้นจะต้องดูที่เจตนาของผู้กระทำความผิดเป็นสำคัญว่าต้องการใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดหรือการพาทรัพย์นั้นไปหรือเพื่อให้พ้นการจับกุมหรือไม่ส่วนยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำความผิดนั้นจะเป็นของผู้ใดหาใช่ข้อสำคัญไม่เมื่อข้อเท็จจริงในคดีนี้ได้ความว่าจำเลยเป็นลูกจ้างของผู้เสียหายมีหน้าที่ขับรถลักเอาน้ำมันพืช24ขวดและปลากระป๋อง100กระป๋องจากคลังสินค้าของผู้เสียหายไปแล้วนำไปวางไว้บนรถยนต์กระบะของผู้เสียหายขับออกไปจากที่เกิดเหตุเช่นนี้ย่อมเห็นเจตนาของจำเลยได้ชัดแจ้งว่าจำเลยมีเจตนาใช้
****************************************
ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com 

ทนายเล่าเรื่อง ใครฟ้องคดีอาญาได้บ้าง

ป.วิ.อ. มาตรา 28 บัญญัติให้ทั้งพนักงานอัยการและผู้เสียหาย เป็นบุคคลซึ่งมีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาลได้ โดยในกรณีที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนั้น ผู้เสียหายมีสิทธิยื่นฟ้องต่อศาลได้โดยไม่จำต้องมีการสอบสวนความผิดนั้นมาก่อน แต่ในกรณีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง มาตรา 120 บัญญัติว่า ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาล โดยมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อน ทั้งต้องเป็นการสอบสวนที่ไม่บกพร่องหรือผิดพลาดในส่วนซึ่งเป็นสาระสำคัญด้วย เพราะมิเช่นนั้นแล้วต้องถือว่า เป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งถือเท่ากับว่าไม่มีการสอบสวนในความผิดนั้นมาก่อน อันมีผลทำให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง การสอบสวนจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้พนักงานอัยการมีอำนาจในการฟ้องคดีอาญา ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้กำหนดหลักเกณฑ์สำคัญเกี่ยวกับการสอบสวนความผิดที่ได้กระทำลงในราชอาณาจักรไว้ในมาตรา 2 (6) และมาตรา 18 กับมาตรา 19 โดยมีสาระสำคัญว่า การสอบสวนต้องกระทำโดยเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายกำหนดให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน ทั้งการสอบสวนต้องกระทำโดยพนักงานสอบสวนที่มีเขตอำนาจ

 โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งว่า การกระทำของจำเลยที่อ้างว่าเป็นความผิดฐานร่วมกันยักยอก คือการร่วมกับจ่าสิบตำรวจ อ. จำเลยที่ 1 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 21/2555 ของศาลชั้นต้น นำรถยนต์ที่เช่าซื้อมาจากผู้เสียหายไปจำนำแก่ ก. โดยระบุว่า เหตุเกิดที่แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร แต่ต่อมาในชั้นพิจารณากลับได้ความตามคำเบิกความของร้อยตำรวจเอก ว. พนักงานสอบสวนพยานโจทก์ว่า การจำนำรถยนต์อันเป็นมูลเหตุแห่งความผิดของจำเลยเกิดขึ้นที่เขตเพชรเกษม อันเป็นท้องที่ในความรับผิดชอบของสถานีตำรวจนครบาลเพชรเกษม ดังนี้ พนักงานสอบสวนของสถานีตำรวจนครบาลเพชรเกษมซึ่งเป็นท้องที่ที่ความผิดเกิดย่อมเป็นพนักงานสอบสวนที่มีอำนาจสอบสวน พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่อื่นนอกจากนี้ย่อมไม่มีอำนาจสอบสวนได้ เว้นแต่ในกรณีมีเหตุจำเป็นหรือเพื่อความสะดวก จึงให้พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ผู้ต้องหามีที่อยู่หรือถูกจับเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการสอบสวนได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18 วรรคสาม เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ว่า จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในท้องที่เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร และถูกจับกุมดำเนินคดีนี้โดยเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจนครบาล หนองค้างพลู เช่นนี้ แม้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลโชคชัยจะเป็นผู้รับคำร้องทุกข์จากผู้เสียหาย ทั้งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีเขตรับผิดชอบในท้องที่ซึ่งบริษัทผู้เสียหายตั้งอยู่ แต่เมื่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลโชคชัยไม่ใช่พนักงานสอบสวนที่ ป.วิ.อ. มาตรา 18 วรรคสาม กำหนดให้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ การที่พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลโชคชัยทำการสอบสวนจำเลย จึงเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานร่วมกันยักยอก ตาม ป.อ. มาตรา 352 ประกอบมาตรา 83 จึงเป็นกรณี ที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดกรรมเดียว มิใช่หลายกรรม ทั้งการกระทำอันเป็นความผิดฐานยักยอกตามที่กล่าวหาคือการที่ผู้ครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ดังนั้น ความผิดฐานยักยอกย่อมเกิดขึ้นและสำเร็จแล้วเมื่อจำเลยและจ่าสิบตำรวจ อ. ร่วมกันนำรถยนต์ที่เช่าซื้อมาจากผู้เสียหายไปจำนำแก่ ก. การกระทำของจำเลยจึงหาใช่ความผิดต่อเนื่องที่ได้กระทำในหลายท้องที่ ทั้งกรณีซึ่งจะถือว่าเป็นการไม่แน่ว่าการกระทำความผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใดในระหว่างหลายท้องที่ อันจะทำให้พนักงานสอบสวนในท้องที่ใดท้องที่หนึ่งที่เกี่ยวข้องกับความผิดมีอำนาจทำการสอบสวนได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 นั้น หมายแต่เฉพาะเมื่อสภาพและลักษณะแห่งการกระทำความผิดนั้น เป็นที่ประจักษ์ชัดอยู่ในตัวว่า เป็นการไม่แน่ว่าการกระทำความผิดเกิดขึ้นในท้องที่ใดในหลายท้องที่ต่างเขตอำนาจสอบสวน โดยมิได้หมายรวมถึงกรณีที่เป็นการแน่นอนอยู่แล้วว่า ความผิดนั้นได้กระทำในท้องที่ใด ดังนี้ แม้ผู้เสียหายสามารถร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลโชคชัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 123 และมาตรา 124 ก็ตาม แต่เมื่อการสอบสวนคดีนี้กระทำโดยพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลโชคชัย ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดของจำเลย การสอบสวนจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถือได้ว่าคดีนี้ไม่มีการสอบสวน ย่อมมีผลให้พนักงานอัยการซึ่งเป็นโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 ผู้เสียหายจึงไม่มีสิทธิขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีนี้รถยนต์กระบะคันดังกล่าวเพื่อสะดวกแก่การพาทรัพย์นั้นไปกรณีหาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยลักทรัพย์ของผู้เสียหายขณะที่บรรทุกอยู่บนรถซึ่งจำเลยมีหน้าที่ขับรถบรรทุกขนส่งแต่อย่างใดไม่การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะซึ่งต้องรับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา336ทวิ

**************************************
ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com

ทนายเล่าเรื่อง ตำรวจมีอำนาจจับกุม สืบสวนแม้จะอยู่นอกพื้นที่ทำงานของตน

แม้จ่าสิบตำรวจ ส. เป็นเจ้าพนักงานตำรวจประจำสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนก็ตาม แต่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(16)จ่าสิบตำรวจ ส. มีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทำการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายได้และยังมีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 17 อำนาจจับกุมผู้กระทำผิดและสืบสวนคดีอาญาดังกล่าวนี้ ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดจำกัดให้ปฏิบัติหน้าที่ได้เฉพาะ ในเขตท้องที่ที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้นั้นประจำการอยู่เท่านั้นเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวจึงมีอำนาจจับกุมผู้กระทำผิดและสืบสวนคดีอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร ดังนั้น จ่าสิบตำรวจ ส. ย่อมมีอำนาจที่จะไปจับกุมจำเลยที่ 1 ซึ่งมีที่อยู่ในเขตท้องที่ สถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกร ได้ เว้นแต่ลักษณะการจับที่ไม่มีหมายจับเป็นไปโดยมิชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78,81 และ 92 จำเลยที่ 1 เป็นตัวการร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 2ในการกระทำความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีน การที่จำเลยที่ 2ขายเมทแอมเฟตามีนให้แก่จ่าสิบตำรวจ ส. เป็นความผิดซึ่งหน้าเมื่อจำเลยที่ 2 ถูกจับกุมแล้วได้นำจ่าสิบตำรวจ ส.ไปจับกุมจำเลยที่ 1 เป็นการต่อเนื่องกันทันที ถือได้ว่าจ่าสิบตำรวจ ส. จับกุมจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิดซึ่งหน้าด้วยเช่นกัน เพราะหากล่าช้า จำเลยที่ 1ก็อาจหลบหนีไปได้ และการตรวจค้นตัวจำเลยที่ 1 ยังพบ เมทแอมเฟตามีนของกลางอีก 95 เม็ด ดังนั้น แม้จ่าสิบตำรวจ ส. เข้าไปจับจำเลยที่ 1 ในห้องพักของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นที่ รโหฐานก็ตาม จ่าสิบตำรวจ ส. ก็ย่อมมีอำนาจที่จะจับกุมจำเลยที่ 1 ได้โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 81(1),92(2) การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดต่อเนื่อง และกระทำต่อเนื่องกันทั้งในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียน และสถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกร ดังนั้นพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนซึ่งเป็นท้องที่ที่จับกุมจำเลยที่ 2 ผู้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 จึงมี อำนาจสอบสวนได้โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 19 วรรคหนึ่ง(3) และวรรคสาม(ก) พนักงานอัยการโจทก์ จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
******************************************
ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com

ทนายเล่าเรื่อง เมาแล้วขับหรือตรวจเพื่อหาพยายานหลักฐาน

คดีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปีเท่านั้น หากพนักงานสอบสวนจะทำการตรวจพิสูจน์บุคคลโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ พนักงานสอบสวนจะต้องดำเนินการตามที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 131/1 วรรคสอง คดีนี้ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า เป็นคดีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี จึงไม่อยู่ในบังคับของบทบัญญัติดังกล่าว

 การที่พนักงานสอบสวนพบจำเลยนอนหมดสติอยู่บนเตียงผู้ป่วยและได้กลิ่นสุรา แต่ไม่สามารถตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ได้ จึงเป็นกรณีที่พันตำรวจโท ส. สงสัยว่าจำเลยกระทำความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุราหรือไม่ พันตำรวจโท ส. จึงมีอำนาจที่จะทำการตรวจพิสูจน์บุคคลโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 131/1 วรรคหนึ่ง การที่พันตำรวจโท ส. มีหนังสือขอให้แพทย์ผู้ตรวจรักษาจำเลยเก็บตัวอย่างเลือดของจำเลยเพื่อตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ว่าเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ จึงเป็นการรวบรวมพยานหลักฐานเท่าที่สามารถจะทำได้ เพื่อประสงค์จะทราบข้อเท็จจริงอันเกี่ยวกับความผิดที่จำเลยถูกกล่าวหาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 131 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 การสอบสวนของพันตำรวจโท ส. พนักงานสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมาย
****************************************
ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com

ทนายเล่าเรื่อง ทำร้ายร่างกาย มาถึงตายเพราะคุณเป็นคนลงมือต้องรับโทษครับ

จำเลยตี ถ.มีแผลเล็กน้อย.แต่ถ.สลบจำเลยเข้าใจว่าถ. ตาย จึงเอาผ้าขาวม้าของ ถ.ผูกคอถ.แขวนกับต้นไม้เป็นเหตุให้ถ. ตาย จำเลยมีความผิดตามมาตรา 290
***************************************
ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com 

ทนายเล่าเรื่อง คำฟ้องต้องบรรยายให้ชัดเจนครับ

โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเบิกความเท็จต่อศาลในการพิจารณาคดีแพ่ง โดยบรรยายรายละเอียดข้อความที่จำเลยเบิกความกับความจริงเป็นอย่างไร และว่าคำเบิกความของจำเลยเป็นข้อสำคัญในคดี แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายว่าคดีที่จำเลยเบิกความอันเป็นเท็จนั้นมีข้อหาหรือประเด็นพิพาทเป็นอย่างไร และประเด็นที่สำคัญของคดีมีว่าอย่างไรดังนี้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ย่อมเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
*****************************************

17. คดีที่ดิน

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้คุณได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้คุณ.com

ทนายเล่าเรื่อง ที่ดิน

ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน2515 ข้อ 30 วรรคหนึ่ง ประกอบข้อ 32 จะเห็นได้ว่า ถึงแม้การจัดสรรที่ดิน ซึ่งผู้จัดสรรที่ดินกระทำอยู่ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24พฤศจิกายน 2515 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และได้มีการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อ 32 จะไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวก็ตาม แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับกิจการอันเป็นสาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินจะต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งข้อ 30 กล่าวคือ ถือว่าสาธารณูปโภคเช่นว่านั้นตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร และจากถ้อยคำในข้อ 32ที่ว่า "ผู้ใดจัดสรรที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ประกาศในราชกิจจา-นุเบกษา และ...หรือได้จัดให้มีสาธารณูปโภค...หรือที่ประกอบการอุตสาหกรรมไปแล้วบางส่วน...ฯลฯ" ย่อมมีความหมายชัดแจ้งอยู่แล้วว่า สาธารณูปโภคดังกล่าวคือสาธารณูปโภคที่มีอยู่ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24พฤศจิกายน 2515 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา หาใช่สาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินภายหลังประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวใช้บังคับไม่เมื่อบริษัท น.ดำเนินการจัดสรรที่ดินหมู่บ้าน ม.เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2516 และถนนซอยพิพาทเป็นสาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นก่อนที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ใช้บังคับ ถนนซอยพิพาทจึงตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ข้อ 30 และ 32 ถึงแม้ถนนซอยพิพาทเป็นทางเข้าออกบ้านของจำเลยทั้งสองสู่ถนนสายหลักของหมู่บ้าน ม.และถนนสาธารณะ โดยผ่านรั้วด้านข้างบ้านของโจทก์และเจ้าของบ้านอีกหลังหนึ่งซึ่งไม่มีประตูที่รั้วด้านดังกล่าว แต่ในเมื่อถนนซอยพิพาทตกอยู่ในภาระจำยอมตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 30และ 32 โจทก์ในฐานะเป็นผู้อาศัยอยู่ในที่ดินจัดสรร จึงมีสิทธิใช้ถนนซอยพิพาทได้ซึ่งอาจจะใช้เป็นประจำหรือเป็นครั้งคราว เช่น ในยามเกิดอัคคีภัยเป็นต้นที่จำเลยทั้งสองร่วมกันจัดทำประตูรั้วเหล็กปิดกั้นถนนซอยพิพาท ย่อมทำให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนรั้วเหล็กดังกล่าวได้
*************************************
ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com

ทนายเล่าเรื่อง ที่ดินทางสาธารณะ จะเป็นทางสาธารณะได้ต้องเป็นอย่างไรบ้าง

โดยลักษณะของทางสาธารณะอาจเป็นได้2กรณีคือเจ้าของที่ดินอุทิศให้เป็นทางสาธารณะกับการที่มีประชาชนใช้สอยเป็นเวลานานโดยไม่มีการหวงห้ามเข้าลักษณะเป็นทางสาธารณะโดยปริยายคดีนี้ได้ความว่าจากปากซอยพานิชอนันต์เข้าไปตามถนนซอยประมาณ175เมตรเป็นทางสาธารณะถัดจากทางพิพาทเข้าไปก็เป็นทางสาธารณะอีกส่วนหนึ่งและที่เป็นซอยแยกก็เป็นทางสาธารณะด้วยลักษณะการใช้สอยทางพิพาทของประชาชนปรากฏว่าใช้มาเป็นเวลานานกว่า10ปีพฤติการณ์แห่งคดีฟังได้แล้วว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะโดยปริยายเมื่อฟังว่าเป็นทางสาธารณะแล้วประชาชนทั่วไปรวมทั้งจำเลยมีสิทธิใช้สอยได้ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายและห้ามมิให้จำเลยใช้ทางพิพาท
***********************************
มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้คุณได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้คุณ.com

ทนายเล่าเรื่อง นิติกรรมเป็นโมฆะหรือโมฆียะ

โจทก์ตกลงขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 โดยสำคัญผิดในราคาที่ดินเพราะถูกนายหน้าหลอกลวงซึ่งจำเลยที่ 1 รู้หรือควรจะได้รู้ถึงการหลอกลวงดังกล่าว การที่โจทก์สำคัญผิดในเรื่องราคาทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายกัน แม้มิใช่สำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรมหรือตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีหรือทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม แต่ราคาทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายกันย่อมมีความสำคัญมากพอกับตัวทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม จึงถือว่าโจทก์แสดงเจตนาทำนิติกรรมโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญของนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156

 เมื่อนิติกรรมซื้อขายที่ดินเกิดจากการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมและเกิดจากกลฉ้อฉลในขณะเดียวกัน แต่ผลทางกฎหมายต่างกันกล่าวคือ นิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมมีผลเป็นโมฆะตามมาตรา 156 แต่นิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลมีผลเป็นโมฆียะตามมาตรา 159 จึงต้องถือว่านิติกรรมเป็นโมฆะ เพราะเป็นผลดีต่อผู้แสดงเจตนาทำนิติกรรมโดยบกพร่องยิ่งกว่าเป็นโมฆียะ
***************************************
ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com


ทนายเล่าเรื่อง ถือแทนก็ต้องทำสัญญากันไว้ด้วย ทำไม่เป็นก็ให้ทนายดำเนินการให้จะได้มีหลักฐาน และเก็บใบเสร็จในการโอนเงินชำระค่าที่ดินไว้ด้วย


 โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทแล้วให้จำเลยลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินแทนต่อมาโจทก์ตกลงขายที่ดินพิพาทให้ผู้มีชื่อและได้แจ้งให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนให้ผู้มีชื่อแต่จำเลยเพิกเฉยและอ้างว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทโจทก์จึงไม่ประสงค์ให้จำเลยถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนโจทก์ต่อไปขอบังคับให้จำเลยถอนชื่อจำเลยออกและใส่ชื่อโจทก์เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ไม่เคลือบคลุม แม้คดีนี้กับคดีก่อนคู่ความจะเป็นคู่ความเดียวกันแต่คดีก่อนศาลยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นข้อพิพาทที่เป็นเนื้อหาแห่งคดีว่าจำเลยเป็นตัวแทนโจทก์หรือไม่ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีดังกล่าว สามีโจทก์เป็นคนต่างด้าวขณะซื้อที่ดินพิพาทแม้จะหย่ากับสามีแล้วยังอยู่ด้วยกันแต่โจทก์เป็นคนไทยจึงไม่อยู่ในบังคับมาตรา86แห่งประมวลกฎหมายที่ดินสัญญาซื้อขายที่ดินไม่เป็นโมฆะ กิจการใดที่ตัวแทนจะไปทำกับบุคคลภายนอกแทนตัวการกฎหมายบังคับไว้ว่าต้องทำเป็นหนังสือหรือต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือการตั้งตัวแทนไปทำกิจการนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วยมิฉะนั้นกิจการที่ตัวแทนกระทำไปกับบุคคลภายนอกจะไม่สมบูรณ์แต่ในระหว่างตัวแทนกับตัวการด้วยกันตัวแทนจะอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา798มาใช้บังคับไม่ได้ เมื่อที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่จำเลยลงชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในฐานะตัวแทนโจทก์ซึ่งเป็นตัวการเรียกร้องเอาคืนจำเลยมีหน้าที่ต้องคืนแก่โจทก์
******************************************
อยู่กรุงเทพ ปรึกษาทนายกรุงเทพ 099 464 4445 ค้นหาทนายความได้ที่เวปไซต์นี้: www.ทนายกรุงเทพ.com

ทนายเล่าเรื่อง ครอบครองปรปักษ์ใช้ได้กับท่่ดินที่มีโฉนดเท่านั้น ส่วนท่่ดิน นส3ก. นั้น ได้เพียงสิทธิการครอบครองเท่านั้นครับ

จำเลยซื้อที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่มีน.ส.3ซึ่งมีชื่อโจทก์เป็นเจ้าของมาจาก ว. แล้วเข้า ยึดถือครอบครองเป็นเจ้าของตลอดมาเป็นการ โต้แย้งสิทธิโจทก์มีลักษณะเป็นการ แย่งการครอบครองแล้วและไม่จำต้อง บอกกล่าว เปลี่ยนลักษณะการยึดถือไปยังโจทก์เพราะมิได้ครอบครองโดยอาศัยสิทธิของโจทก์และก็ไม่จำเป็นที่โจทก์จะต้องทราบว่าตนเองถูกแย่งการครอบครองหรือทราบเรื่องที่จำเลยนำรังวัดเพื่อออกน.ส.3ก.แต่อย่างใด จำเลยได้ สิทธิครอบครองที่ดินของโจทก์โดยการ แย่งการครอบครองโจทก์ ไม่มี หน้าที่ทางนิติกรรมที่จะต้องจดทะเบียนแบ่งแยกให้จำเลยจึงบังคับให้ตามคำขอของจำเลยที่ขอให้โจทก์แบ่งแยกที่ดินให้แก่จำเลยมิได้
*****************************************
มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้คุณได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้คุณ.com 

ทนายเล่าเรื่อง สร้างบ้านหรือทำอะไรไว้ ตกลงกันเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ดีกว่า วันหน้าจะได้ไม่ทะเลาะกัน

จำเลยปลูกสร้างบ้านในที่ดินของ ล. เจ้าของที่ดินโดยสุจริต บ้านดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย หลังจาก ล. ถึงแก่ความตายมีการแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวปรากฏว่าบ้านของจำเลยอยู่ในที่ดินที่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย แต่โครงหลังคาบ้านซึ่งติดอยู่กับบ้านเป็นส่วนหนึ่งของบ้านล้ำเข้าไปในที่ดินส่วนที่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ อันเป็นกรณีที่เทียบเคียงได้กับการปลูกโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตตามบทกฎหมายดังกล่าว ถือได้ว่า ป.พ.พ. มาตรา 1312 วรรคแรก เป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง เมื่อกรณีดังกล่าวไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีและไม่ปรากฏว่ามีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น จึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสอง เมื่อใช้มาตรา 1312 วรรคแรก ประกอบมาตรา 4 วรรคสอง มาปรับแก่คดีแล้ว ที่ดินของโจทก์ส่วนที่โครงหลังคาบ้านของจำเลยรุกล้ำเข้าไปจึงเป็นภาระจำยอมที่ต้องไปจดทะเบียนสิทธิดังกล่าวตามบทบังคับของมาตรา 1312 วรรคแรก

 แม้คำให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์มิได้ให้การปฏิเสธฟ้องแย้งของจำเลยที่กล่าวอ้างว่า ถนนคอนกรีตกว้าง 6.50 เมตร ยาว 76 เมตร ในที่ดินของโจทก์ซึ่งเป็นถนนดังกล่าวข้างต้นเป็นทางจำเป็น แต่ศาลมีอำนาจกำหนดที่และวิธีทำทางผ่านของทางจำเป็นให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน โดยคำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นไปได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคสาม ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความกว้างของทางจำเป็นในคดีนี้จึงยังไม่ยุติไปตามคำคู่ความดังกล่าว

 ทางจำเป็นเกิดขึ้นโดยอำนาจของกฎหมายและเป็นทรัพยสิทธิอันมีอยู่เหนืออสังหาริมทรัพย์ที่สามารถใช้ยันบุคคลทั่วไปได้อยู่แล้ว จึงไม่จำต้องจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ป.พ.พ. มาตรา 1349 และมาตรา 1350 บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของผู้มีสิทธิใช้ทางจำเป็นและเจ้าของที่ดินที่ล้อมไว้แล้วเมื่อมีคำพิพากษาว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแล้ว สิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับทางจำเป็นของบุคคลดังกล่าวย่อมเป็นไปตามกฎหมาย ไม่มีเหตุที่ศาลจะต้องชี้ขาดตัดสินกำหนดห้ามการใช้ทางจำเป็นเพื่อการใดไว้ล่วงหน้าในคำพิพากษา ทั้งตามฟ้องโจทก์คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลย และคำให้การแก้ฟ้องแย้งในคดีนี้ คู่ความมิได้โต้แย้งกันว่า จำเลยมีสิทธิใช้ทางจำเป็นเพื่อการค้าหรือไม่ และฟ้องกับฟ้องแย้งดังกล่าวก็มิได้มีคำขอท้ายฟ้องห้ามจำเลยใช้ทางจำเป็นเพื่อการค้า ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยใช้ทางพิพาทตามปกติมิใช่เพื่อการค้า จึงไม่จำเป็นแก่คดีและเกินคำขอของคู่ความ อันเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142
***************************************
ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com 

ทนายเล่าเรื่อง คำสั่งของเจ้าพนักงานต้องปฎิบัติ เพราะถือเป็นคำสั่งทางปกครอง ถ้าไม่อยากไม่อยากปฎิบัติตามก็ต้องใช้สิทธิทางศาลครับ

ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 69 ทวิ วรรคห้า ให้อำนาจเจ้าพนักงานที่ดินสอบสวนไกล่เกลี่ยเพื่อให้การรังวัดสอบเขตและการออกโฉนดตามแนวเขตที่รังวัดใหม่ซึ่งเปลี่ยนไปสามารถดำเนินการต่อไปได้เพื่อประโยชน์แก่คู่กรณีที่จะได้ทราบแนวเขตที่แท้จริงตามที่ตกลงกัน และถ้าไกล่เกลี่ยแล้วไม่สามารถตกลงกันได้ก็แจ้งให้คู่กรณีไปฟ้องภายใน 90 วัน ถ้าไม่มีการนำคดีไปฟ้องภายในกำหนดดังกล่าวเพียงถือว่าผู้ขอสอบเขตโฉนดที่ดินไม่ประสงค์จะให้ดำเนินการตามคำขออีกต่อไป และทำให้เจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจที่จะไม่รังวัดสอบเขตที่ดินต่อไปได้โดยไม่มีความผิดเท่านั้น หาใช่เป็นบทกำหนดวิธีการและขั้นตอนให้ผู้ยื่นคำขอรังวัดต้องปฏิบัติก่อนจึงจะฟ้องคดีได้ไม่ และไม่มีผลทำให้การถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามความจริงไม่เกิดขึ้นหรือหมดไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

 คำขอท้ายฟ้องที่ขอให้จำเลยถอยร่นแนวเขตที่ดินของจำเลยออกไปจากที่ดินโจทก์และห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้องนั้น ถือได้ว่าเป็นคำขอให้จำเลยรับรองแนวเขตที่ดินโจทก์ศาลจึงพิพากษาให้จำเลยรับของแนวเขตที่ดินโจทก์ได้
***************************************
มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้คุณได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้คุณ.com

ทนายเล่าเรื่อง ทีดินทำนิติกรรมอย่างมีเงื่อนไข บังคับได้อย่างไร

ตามสัญญาซื้อขาย โจทก์กับจำเลยตกลงกันว่าโจทก์จะต้องชำระค่าที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินที่ไม่มีหนังสือสำคัญอีกสองงวด เมื่อโจทก์ชำระครบถ้วนแล้วจำเลยจะโอนที่ดินพิพาทให้ สัญญาดังกล่าวจึงไม่ใช่สัญญาที่ตกลงกันให้ความเป็นเจ้าของและการครอบครองที่ดินพิพาทโอนไปทันทีที่มีการทำสัญญาแต่เป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขายซึ่งต้องการเพียงหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใด ลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญหรือได้วางประจำไว้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้วก็สามารถฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสอง ดังนั้น การซื้อขายที่ดินพิพาทจึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขายไม่ใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด แม้การซื้อขายที่ดินพิพาทนั้นจะไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาก็ไม่เป็นโมฆะ

 หนังสือสัญญาซื้อขายข้างต้น แม้โจทก์ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานหลักฐานไว้แต่เป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานดังกล่าว ศาลมีอำนาจรับฟังหนังสือสัญญาซื้อขายดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2)

 จำเลยได้ส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามที่ตกลงกันแล้ว แสดงว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของสัญญาที่ต้องส่งมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ในวันทำสัญญาแล้ว แม้การครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์จะเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทแทนจำเลยเพราะโจทก์ยังไม่ได้ชำระค่าที่ดินอีกสองงวด แต่เป็นการส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามเงื่อนไขในสัญญา ซึ่งเป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขายเท่านั้น เมื่อโจทก์ชำระค่าที่ดินครบ จำเลยเพียงแสดงเจตนาสละการครอบครองโจทก์ก็จะได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทต่อไป โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา และไม่มีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญากับจำเลย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินตามฟ้องแก่โจทก์

***************************************
ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com

ทนายเล่าเรื่อง แม้ยังไม่ได้โอนก็ฟ้องขับไล่ได้

โจทก์เป็นผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสุจริต สิทธิของโจทก์จึงไม่เสียไปแม้ภายหลังจะพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์นั้นมิใช่ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 และแม้จะยังมิได้มีการชำระราคาทรัพย์ครบถ้วน หรือยังมิได้มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องขับไล่ผู้อยู่อาศัยในอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อนั้นได้
*******************************************