ทนายความจังหวัดศรีสะเกษ มือถือ: 094 524 1915

ทนายความจังหวัดศรีสะเกษ มือถือ: 094 524 1915

เปิดหน้าต่อไป

รู้จักจังหวัดศรีสะเกษ

ตราประจำจังหวัดศรีสะเกษ
ตราประจำจังหวัดศรีสะเกษ

คำขวัญจังหวัดศรีสะเกษ

"หลวงพ่อโตคู่บ้าน ถิ่นฐานปราสาทขอม ข้าว หอม กระเทียมดี มีสวนสมเด็จ เขตดงลำดวน หลากล้วนวัฒนธรรม เลิศล้ำสามัคคี" 

ที่ตั้งจังหวัดศรีสะเกษ

ศรีสะเกษ เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ลักษณะภูมิประเทศทางตอนใต้เป็นที่สูง และค่อย ๆ ลาดต่ำไปทางเหนือลงสู่ลุ่มแม่น้ำมูลซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัด ปัจจุบันมีเนื้อที่ 8,840 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยอำเภอ 22 อำเภอ มีประชากรราว 1.47 ล้านคน ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลาย ซึ่งพูดภาษาถิ่นต่าง ๆ กัน อาทิ ภาษาลาว (สำเนียงลาวใต้ซึ่งใช้ครอบคลุมทั้งฝั่งอุบลราชธานีและจำปาศักดิ์) ภาษากูย ภาษาเยอ และภาษาเขมรถิ่นไทย ส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชนและนับถือผีมาแต่เดิม

มีการตั้งถิ่นฐานในจังหวัดศรีสะเกษมาแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนเกิดพัฒนาการที่เข้มข้นในสมัยอาณาจักรขอมซึ่งได้ทิ้งมรดกทางวัฒนธรรมหลายประการไว้ เช่น ปราสาทหินและปรางค์กู่ ครั้นในสมัยอาณาจักรอยุธยาตอนปลาย ได้มีการยกบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน(บริเวณใกล้ ๆ ปราสาทกุด หรือปราสาทสี่เหลียมโคกลำดวน วัดเจ็ก อำเภอขุขันธ์ ในปัจจุบัน) เป็นเมืองขุขันธ์ พ.ศ. 2449 ได้มีการย้ายเฉพาะ ศาลากลางเมืองขุขันธ์ จากที่ตั้งเดิม คืออำเภอเมืองขุขันธ์ ไปตั้งบริเวณศาลากลางเมืองศีร์ษะเกษ แต่ยังคงใช้ชื่อ ศาลากลางเมืองขุขันธ์ ส่วนพื้นที่ อำเภอเมืองขุขันธ์  เมืองขุขันธ์  ประเทศสยาม ยังอยู่ที่ตั้งแห่งเดิม โดยเหตุผลที่ย้ายเฉพาะ ศาลากลางเมืองขุขันธ์ จากที่ตั้งเดิมก็เพื่อความมั่นคง กล่าวคือ

พื้นที่ซึ่งจะยกฐานะหรือตั้งเป็นจังหวัด มักจะไม่ตั้งในพื้นที่ติดพรมแดนของประเทศเพื่อนบ้านเพื่อป้องกันการแสวงหาเมืองขึ้นของประเทศมหาอำนาจผู้ล่าเมืองขึ้น โดยเฉพาะประเทศฝรั่งเศส เป็นต้นเพื่อรองรับความเจริญที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะยุคนั้น จะสร้างเส้นทางรถไฟจากโคราชสู่ปลายทางอุบลราชธานีเพื่อให้ห่างไกลจากการรบกวนของผู้ที่ยังเคารพศรัทธาท้าวบุญจันทร์(น้องชายเจ้าเมืองขุขันธ์ท่านที่ ๙) ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฎซึ่งถูกปราบและเสียชีวิต

พ.ศ. 2459 ตรงกับวันที่ วันที่ 19 พฤษภาคม 2459 ร. 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่า "เมือง" เป็น "จังหวัด" ผู้ว่าราชการเมือง เรียกว่า "ผู้ว่าราชการจังหวัด" เมืองขุขันธ์ จึงเปลี่ยนนามจากเดิมเป็น จังหวัดขุขันธ์

ประกาศเรื่องเปลี่ยนชื่ออำเภอ พ.ศ. 2460 เน้นจังหวัดขุขันธ์ราชกิจจานุเบกษา ประกาศเรื่องเปลี่ยนชื่ออำเภอ พ.ศ. 2460 เน้นจังหวัดขุขันธ์

พ.ศ. 2460 พื้นที่ของ อำเภอเมืองขุขันธ์  จังหวัดขุขันธ์ ประเทศสยาม  ยังคงอยู่ที่ตั้งเดิม แต่ต่อมาวันที่ 29 เมษายน 2460 อำเภอเมืองขุขันธ์   ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอห้วยเหนือ และอำเภอเมืองศีร์ษะเกษ ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอศีร์ษะเกษ (ที่มา : ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 34 หน้า 40 วันที่ 29 เม.ย. 2460)

พระราชกฤษฎีกา เปลี่ยนนามจังหวัด และอำเภอบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๑พระราชกฤษฎีกา เปลี่ยนนามจังหวัด และอำเภอบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๑

พ.ศ. 2481 เปลี่ยนชื่อจังหวัดขุขันธ์ เป็นชื่อ จังหวัดศีร์ษะเกษ เปลี่ยนชื่อ อำเภอห้วยเหนือ เป็นชื่อ อำเภอขุขันธ์ ตั้งแต่วันที่ 14 พฤษจิกายน 2481 เป็นต้นมา

แหล่งท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญในจังหวัดศรีสะเกษ เช่น อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ผามออีแดง สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ ปรางค์กู่ ปราสาทสระกำแพงน้อย ปราสาทสระกำแพงใหญ่ ปราสาทเยอ ปราสาทบ้านปราสาท ปราสาทโดนตวล บึงนกเป็ดน้ำไพรบึง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยศาลา[4] ส่วนด้านเศรษฐกิจนั้นพึ่งพาเกษตรกรรมเป็นหลัก พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ ข้าวหอมมะลิ ผลไม้ เช่น ทุเรียน และเงาะ พืชสวน เช่น หอมแดง กระเทียม และยางพารา ตลอดจนพืชไร่ เป็นต้นว่า มันสำปะหลัง และถั่วลิสง

ภูมิประเทศ

อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดยโสธร และจังหวัดร้อยเอ็ด
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดอุบลราชธานี
ทิศใต้ ติดต่อกับประเทศกัมพูชา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดร้อยเอ็ดภูมิประเทศทุ่งกุลาร้องไห้

จังหวัดศรีสะเกษนั้น ตอนใต้มีทิวเขาพนมดงรักซึ่งทอดตัวในแนวตะวันออก-ตะวันตกเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา ยาว 127 กิโลเมตร ยอดเขาสูงสุดในจังหวัดชื่อ "พนมตาเมือน" สูง 673 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยตั้งอยู่ในเขตอำเภอกันทรลักษ์ จากเขาพนมตาเมือนนี้ พื้นที่ค่อย ๆ ลาดต่ำลงไปทางเหนือเข้าสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล

ภูมิประเทศส่วนใหญ่ซึ่งอยู่ทางตอนกลางและตอนเหนือของจังหวัดมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มลอนลาด มีระดับความสูงระหว่าง 150-200 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีลำน้ำหลายสายไหลผ่านพื้นที่ราบนี้ลงไปยังแม่น้ำมูล ลำน้ำสายสำคัญได้แก่ ห้วยทับทัน ห้วยสำราญ และห้วยขะยุง

เทศบาลเมืองศรีสะเกษในปัจจุบันตั้งอยู่ริมฝั่งห้วยสำราญ ห้วยน้ำคำ และห้วยขะยุง ห่างจากแม่น้ำมูลไปทางทิศใต้ประมาณ 10 กิโลเมตร และอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 126 เมตร

จังหวัดศรีสะเกษ มีแหล่งน้ำที่สำคัญและมีผลต่อกิจกรรมการเกษตร การประมง ดังนี้

แม่น้ำมูล ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาดงพญาเย็นในท้องที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมาไหลเข้าสู่จังหวัดศรีสะเกษ บริเวณอำเภอราษีไศล ไหลผ่านอำเภอยางชุมน้อย อำเภอเมืองศรีสะเกษ และอำเภอกันทรารมย์ แล้วไหลไปบรรจบแม่น้ำชีที่จังหวัดอุบลราชธานี เป็นระยะทางยาวประมาณ 120 กิโลเมตร พื้นที่ทางทิศเหนือของแม่น้ำมูลลักษณะเป็นที่ราบลุ่มมีสภาวะน้ำท่วมขังในฤดูฝน โดยถือเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ที่สุดของจังหวัด เนื่องจากเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่อันอยู่สูงจากระดับทะเลปานกลางประมาณ 115–130 เมตร ห้วยทับทัน ไหลมาจากอำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ เป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างจังหวัดสุรินทร์และจังหวัดศรีสะเกษในเขตอำเภออุทุมพรพิสัย ไหลลงไปบรรจบแม่น้ำมูลบริเวณ[[อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ห้วยสำราญ ไหลมาจากเขตอำเภอปรางค์กู่ ผ่านอำเภอเมืองศรีสะเกษ แล้วไหลลงแม่น้ำมูล ที่เขตอำเภอเมืองศรีสะเกษห้วยศาลา เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่ดัดแปลงทำเป็นเขื่อนเก็บน้ำที่ไหลมาจากห้วยสำราญและมีต้นน้ำจากห้วยพนมดงรัก สามารถบรรจุน้ำได้สูงสุด 52.5 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่ทำการชลประทาน จำนวน 20,400 ไร่ มีน้ำตลอดปีเขื่อนราษีไศล เป็นเขื่อนคอนกรีต มีบานประตูระบายน้ำ 7 บาน กั้นแม่น้ำมูลที่บ้านห้วย-บ้านดอน ตั้งอยู่ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ เขื่อนเปิดใช้งานใน พ.ศ. 2536ป้ายเขื่อนราษีไศล เขื่อนราษีไศล พื้นที่เขื่อนราษีไศลภูมิอากาศ

ภูมิอากาศ

ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไปของจังหวัดศรีสะเกษ มีอากาศร้อนจัดในฤดูร้อนและค่อนข้างหนาวจัดในฤดูหนาว ส่วนฤดูฝนจะมีฝนตกหนักในเดือนกันยายน โดยมักจะตกหนักในพื้นที่ตอนกลางและตอนใต้ของจังหวัด ส่วนพื้นที่ทางตอนเหนือของจังหวัดจะมีปริมารฝนตกน้อย และไม่ค่อยสม่ำเสมอ โดยเฉลี่ยแล้วในปีหนึ่ง ๆ จะมีฝนตก 100 วัน ปริมาณฝนเฉลี่ย 1,200–1,400 มิลลิเมตรต่อปี อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 10 องศาเซลเซียส สูงสุดประมาณ 40 องศาเซลเซียส เฉลี่ยประมาณ 26-28 องศาเซลเซียส

ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยร้อยละ 66–73 ในเดือนกุมภาพันธ์มีปริมาณความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 62.24 และปริมาณความชื้นสัมพัทธ์จะเพิ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคมเป็นร้อยละ 71.95 ปริมาณความชื้นสัมพัทธ์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงเดือนสิงหาคม ซึ่งปริมาณความชื้นสัมพัทธ์สูงสุดวัดได้ในเดือนสิงหาคมที่ร้อยละ 78.16 เนื่องจากเข้าสู่ฤดูฝน หลังจากนั้นปริมาณความชื้นสัมพัทธ์จะลดลงช่วงสิ้นสุดฤดูฝนในเดือนตุลาคมถึงธันวาคม โดยมีปริมาณความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 73.80, 68.67 และ 66.45 ตามลำดับ เนื่องจากเป็นช่วงเข้าสู่ฤดูหนาว

ค่าศักย์การคายระเหยน้ำในจังหวัดศรีสะเกษจะแปรผันไปตามฤดูกาล กล่าวคือในเดือนมกราคม มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำ 117.89 มิลลิเมตร ค่าศักย์การคายระเหยน้ำจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน ในเดือนมีนาคมมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำอยู่ที่ 146.30 มิลลิเมตร ซึ่งเป็นค่าสูงสุด และในเดือนเมษายนมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำอยู่ที่ 142.23 มิลลิเมตร หลังจากนั้นค่าศักย์การคายระเหยน้ำได้ลดต่ำลงในเดือนพฤษภาคมเนื่องจากเข้าสู่ฤดูฝน โดยมีค่า 122.65 มิลลิเมตร ค่าศักย์การระเหยน้ำต่ำสุดอยู่ในเดือนกันยายนซึ่งมีค่า 85.93 มิลลิเมตร จากนั้นค่าจะเพิ่มปริมาณขึ้นเมื่อสิ้นสุดฤดูฝนในเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 

เขตปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

จังหวัดศรีสะเกษแบ่งการปกครองเป็น 2,557 หมู่บ้าน 206 ตำบล 22 อำเภอ ได้แก่

  1. อำเภอเมืองศรีสะเกษ
    ที่ว่าการอำเภอเมืองศรีสะเกษ ถนนหลักเมือง ตำบลเมืองเหนือ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ 33000
    โทรศัพท์ : 0-4561-8266
    โทรสาร: 0-4561-8266
    อีเมล: -
    สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567  

  2. อำเภอยางชุมน้อย
    ที่ว่าการอำเภอยางชุมน้อย หมู่ที่ 10 ตำบลยางชุมน้อย อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ 33180
    โทรศัพท์ : 0-4568-7171,0-4568-7034
    โทรสาร: 0-4568-7171
    อีเมล:
    สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567  

  3. อำเภอกันทรารมย์
    ที่ว่าการอำเภอกันทรารมย์ หมู่ที่ 5 ถนนประชารังสฤษดิ์ ตำบลดูน อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ 33130
    โทรศัพท์ : 0-4565-1008,0-4565-1011
    โทรสาร: 0-4565-1011
    อีเมล: -
    สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567  

  4. อำเภอกันทรลักษ์
    ที่ว่าการอำเภอกันทรลักษ์ หมู่ที่ 5 ถนนอนันตภักดี ตำบลน้ำอ้อม อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
    โทรศัพท์ : 0-4566-1422
    โทรสาร: 0-4566-1422
    อีเมล: -
    สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567

  5. อำเภอขุขันธ์
    ที่ว่าการอำเภอขุขันธ์ ถนนไกรภักดี ตำบลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์
    จังหวัดศรีสะเกษ 33140
    โทรศัพท์ : 0-4567-1004
    โทรสาร: 0-4567-1004
    อีเมล:
    สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 
     
  6. อำเภอไพรบึง
    ที่ว่าการอำเภอไพรบึง หมู่ที่ 20 ถนนพยุห์-ขุนหาญ ตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ 33180
    โทรศัพท์: 0-4567-5095
    โทรสาร: 0-4567-5095
    อีเมล:
    สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 
     
  7. อำเภอปรางค์กู่
    ที่ว่าการอำเภอปรางค์กู่ หมู่ที่ 1 ถนนเทศบาล 14 ตำบลพิมาย อำเภอปรางค์กู่
    จังหวัดศรีสะเกษ 33170
    โทรศัพท์: 0-4569-7072
    โทรสาร: 045-697072,045-697057
    อีเมล:
    สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567  

  8. อำเภอขุนหาญ
    ที่ว่าการอำเภอขุนหาญ หมู่ที่ 12 ตำบลสิ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ 33150
    โทรศัพท์: 0-4567-9216
    โทรสาร: 0-4567-9216
    อีเมล: -
    สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567  

  9. อำเภอราษีไศล
    ที่ว่าการอำเภอราษีไศล ถนนบริหาร ตำบลเมืองคง อำเภอราษีไศล
    จังหวัดศรีสะเกษ 33160
    โทรศัพท์ : 0-4568-1015
    โทรสาร: 0-4568-1015
    อีเมล:
    สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567  

  10. อำเภออุทุมพรพิสัย
    ที่ว่าการอำเภออุทุมพรพิสัย หมู่ที่ 7 ตำบลกำแพง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ 33120
    โทรศัพท์: 0-4569-1526
    โทรสาร: 0-4569-1526
    อีเมล:
    สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567  

  11. อำเภอบึงบูรพ์
    ที่ว่าการอำเภอบึงบูรพ์ หมู่ที่ 7 ถนนศูนย์ราชการ ตำบลบึงบูรพ์ อำเภอบึงบูรพ์
    จังหวัดศรีสะเกษ 33220
    โทรศัพท์: 0-4568-9055
    โทรสาร: 0-4568-9055
    อีเมล:
    สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567
      
  12. อำเภอห้วยทับทัน
    ที่ว่าการอำเภอห้วยทับทัน เลขที่ 256 หมู่ที่ 1 ตำบลห้วยทับทัน อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ 33210
    โทรศัพท์: 0-4569-9055
    โทรสาร: 0-4569-9055
    อีเมล: -
    สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567  

  13. อำเภอโนนคูณ
    ที่ว่าการอำเภอโนนคูณ เลขที่ 1 หมู่ที่ 17 ตำบลโนนค้อ อำเภอโนนคูณ
    จังหวัดศรีสะเกษ 33250
    โทรศัพท์ : -
    โทรสาร: -
    อีเมล: -
    สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567  

  14. อำเภอศรีรัตนะ
    ที่ว่าการอำเภอศรีรัตนะ ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตำบลศรีแก้ว อำเภอศรีรัตนะ
    จังหวัดศรีสะเกษ 33240
    โทรศัพท์: 0-4567-7080
    โทรสาร: 0-4567-7080
    อีเมล: -
    สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567  

  15. อำเภอน้ำเกลี้ยง
    ที่ว่าการอำเภอน้ำเกลี้ยง หมู่ที่ 5 ตำบลน้ำเกลี้ยง อำเภอน้ำเกลี้ยง
    จังหวัดศรีสะเกษ 33130
    โทรศัพท์ : 0-4560-9043
    โทรสาร: 0-4560-9043
    อีเมล: -
    สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567  

  16. อำเภอวังหิน
    ที่ว่าการอำเภอวังหิน หมู่ที่ 19 ตำบลบุสูง อำเภอวังหิน
    จังหวัดศรีสะเกษ 33270
    โทรศัพท์: 0-4560-6121
    โทรสาร: 0-4560-6121
    อีเมล: -
    สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567  

  17. อำเภอภูสิงห์
    ที่ว่าการอำเภอภูสิงห์ 333 หมู่ที่ 11 ถนนพญาเมืองภู ตำบลห้วยตึ๊กชู
    อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ 33140
    โทรศัพท์: 0-4560-8151- 2
    โทรสาร: 0-4560-8152
    อีเมล: phusing507@gmail.com
    สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 
     
  18. อำเภอเมืองจันทร์
    ที่ว่าการอำเภอเมืองจันทร์ หมู่ที่ 4 ตำบลหนองใหญ่ อำเภอเมืองจันทร์
    จังหวัดศรีสะเกษ 33120
    โทรศัพท์: 0-4560-3079
    โทรสาร: 0-4560-3079
    อีเมล: 
    สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567  

  19. อำเภอเบญจลักษ์
    ที่ว่าการอำเภอเบญจลักษ์ ถนนกันทรลักษ์-กันทรารมย์ ตำบลเสียว อำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
    โทรศัพท์: 0-4560-5152
    โทรสาร: 0-4560-5152
    อีเมล: -
    สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567  

  20. อำเภอพยุห์
    ที่ว่าการอำเภอพยุห์ หมู่ที่ 2 ถนนพยุห์-ขุนหาญ ตำบลพยุห์ อำเภอพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ 33230
    โทรศัพท์: 0-4560-7133
    โทรสาร: 0-4560-7133
    อีเมล:
    สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567  

  21. อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ
    ที่ว่าการอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ เลขที่ 17 ตำบลโดด อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ
    จังหวัดศรีสะเกษ 33120
    โทรศัพท์: 0-4560-4057
    โทรสาร: 0-4560-4057
    อีเมล:
    สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567  

  22. อำเภอศิลาลาด
    ที่ว่าการอำเภอศิลาลาด หมู่ที่ 5 ตำบลกุง อำเภอศิลาลาด
    จังหวัดศรีสะเกษ 33160
    โทรศัพท์: 0-4566-8119
    โทรสาร: 0-4566-8119
    อีเมล: -
    สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567